Page 13 - รายงานสรุปผลการดำเนินโครงการฝึกอบรมหลักสูตรการคุ้มครองการละเมิดสิทธิชุมชน สิทธิในที่ดิน ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม สำหรับเจ้าหน้าที่สำนักงาน กสม. ระหว่างวันที่ 19-23 สิงหาคม 2566 ณ โรงแรมกรุงศรีริเวอร์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
P. 13
๑๑
สาระส าคัญ :
กลุ่มที่ 1 กรณีศึกษาผลกระทบจากโรงงานที่มีวัตถุอันตราย
1) อ่านกรณีศึกษาแล้วรู้สึกอย่างไร
- สงสัย, หวาดกลัว, กังวล, เห็นใจชาวบ้านที่ต้องอพยพย้ายที่อยู่
2) ผลกระทบที่เกิดกับชุมชน
- ต้องย้ายที่อยู่อาศัย
- ความเสียหายต่อทรัพย์สินของประชาชน
- ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
- ผลเสียต่อสุขภาพ
3) กฎหมาย/ระเบียบที่เกี่ยวข้อง
- หลักการชี้แนะแห่งสหประชาชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน (United Nations
Guiding Principles on Business and Human Rights: UNGPs)
- กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (International
Covenant on Economic, Social and Cultural Rights: ICESCR)
- รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 41, 43, 57, 58
- พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
- พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
- พระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2562
- พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535
- พระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. 2550
4) ต้องการใช้ข้อมูล/เอกสารหลักฐานอะไรบ้าง
- ใบอนุญาตจัดตั้งโรงงาน
- ใบอนุญาตครอบครองวัตถุอันตราย
- ประเภทของผังเมืองในพื้นที่
- กฎหมายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่
- ผลการตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม
- ผลการตรวจสุขภาพของประชาชนในพื้นที่
- ลงพื้นที่สอบถามประชาชนผู้ได้รับผลกระทบ และผู้ที่เกี่ยวข้อง
- สถานที่ที่ประชาชนจะอพยพไป
- แผนป้องกันอันตรายหลังเกิดเหตุการณ์
การเชื่อมโยงผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง (Mapping)
กลุ่ม บทบาท ข้อมูลที่ต้องการ
1. ประชาชนและลูกจ้าง ผู้ได้รับผลกระทบ 1. สภาพความเสียหาย
ในโรงงาน 2. ประวัติและความสัมพันธ์ในชุมชน
3. ความคาดหวังในการแก้ไขปัญหา
2. โรงงาน ผู้สร้างความเสียหาย 1. ข้อมูลเกี่ยวกับโรงงาน
2. การด าเนินงานของโรงงาน
3. มาตรการเยียวยา