Page 3 - รายงานสรุปผลการดำเนินโครงการฝึกอบรมหลักสูตรการคุ้มครองการละเมิดสิทธิชุมชน สิทธิในที่ดิน ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม สำหรับเจ้าหน้าที่สำนักงาน กสม. ระหว่างวันที่ 19-23 สิงหาคม 2566 ณ โรงแรมกรุงศรีริเวอร์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
P. 3

๑


                                           สรุปผลการด าเนินการโครงการฝึกอบรม
                      หลักสูตร การคุ้มครองการละเมิดสิทธิชุมชน สิทธิในที่ดิน ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม

                                              ส าหรับเจ้าหน้าที่ส านักงาน กสม.

                                          ระหว่างวันที่ ๑๙ – 23 สิงหาคม 2566
                                      ณ โรงแรมกรุงศรีริเวอร์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา


                  หลักการและเหตุผลโครงการ
                             รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 จนถึงรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
                  พุทธศักราช 2560 ได้บัญญัติรับรองสิทธิชุมชนในการจัดการบ ารุงรักษา และใช้ประโยชน์จาก

                  ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และความหลากหลายทางชีวภาพอย่างสมดุลและยั่งยืน โดยสิทธิชุมชนได้รับ
                  การออกแบบตามรัฐธรรมนูญให้มีสภาพบังคับใช้ได้ทันที แต่ในทางปฏิบัติ หลักการสิทธิชุมชนในการจัดการ
                  ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมยังไม่ได้รับการตระหนักอย่างแท้จริง สืบเนื่องมาจากระบบกฎหมายของ

                  ประเทศไทยที่ยอมรับสภาพบุคคล 2 ประเภทเท่านั้น คือ บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล และการให้ความส าคัญ
                  กับสิทธิของปัจเจกบุคคลและสิทธิของรัฐ ด้วยเหตุนี้จึงท าให้ระบบกรรมสิทธิ์มีเพียง 2 ประเภท คือ กรรมสิทธิ์
                  ของรัฐและกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินส่วนบุคคล จึงท าให้เกิดปัญหาการปรับใช้และการตีความกฎหมายรับรอง
                  สถานะของชุมชนที่มีลักษณะเป็นสภาพบุคคลหรือไม่ และปัญหาค าจ ากัดความของค าว่า “ชุมชน” ก็ยังไม่ชัดเจน

                  ในทางปฏิบัติตามกฎหมาย โดยส่งผลให้การปรับใช้และการตีความรับรองสถานะสิทธิชุมชนมีข้อจ ากัดในทาง
                  กฎหมาย นอกจากนี้กฎหมายที่เกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ก าหนดให้การจัดการ
                  ทรัพยากรธรรมชาติต้องได้รับอนุญาตจากหน่วยงานของรัฐ ซึ่งไม่มีเนื้อหารับรองสิทธิของชุมชนในการจัดการ
                  และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติตามรัฐธรรมนูญ เป็นเหตุให้เกิดข้อขัดแย้งเกี่ยวกับการจัดการ และ

                  การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ระหว่างหน่วยงานรัฐ เจ้าหน้าที่รัฐที่ยังคงบังคับใช้
                  กฎหมายอีกด้านหนึ่ง และประชาชนหรือชุมชนที่อ้างสิทธิของตนตามรัฐธรรมนูญในด้านอื่น ๆ จึงเกิดข้อพิพาท
                  ระหว่างหน่วยงานรัฐกับประชาชนหรือชุมชนขึ้นสู่การพิจารณาของศาลมากยิ่งขึ้น
                             คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ซึ่งเป็นองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญแห่ง

                  ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิ
                  มนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560 มีหน้าที่และอ านาจหลักส าคัญในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
                  ให้เกิดขึ้นในสังคม จึงจ าเป็นต้องท าหน้าที่เป็นตัวเชื่อมหรือเป็นตัวกลางให้ทุกภาคส่วนเกิดความตระหนัก

                  ในการเคารพและปฏิบัติตามหลักสิทธิมนุษยชน ดังนั้น ส านักงาน กสม. ซึ่งมีหน้าที่และอ านาจในการสนับสนุน
                  กสม. ให้ด าเนินการบรรลุภารกิจและหน้าที่ตามที่ก าหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ
                  และกฎหมายอื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ บุคลากรซึ่งจะต้องเป็นผู้ด าเนินการ
                  ตรวจสอบและรวบรวมข้อเท็จจริงร่วมกับ กสม. จึงจ าเป็นต้องได้รับการเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพ
                  ให้สามารถรองรับภารกิจการปฏิบัติงานดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพและปฏิบัติงานให้เกิดผลสัมฤทธิ์

                  ส านักงาน กสม. โดยความร่วมมือของสมัชชาองค์กรเอกชนด้านการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม และอนุรักษ์
                  ทรัพยากรธรรมชาติ (สคส.) ซึ่งได้รับงบประมาณสนับสนุนจากส านักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริม
                  สุขภาพ (สสส.) จึงได้จัดท าโครงการฝึกอบรมหลักสูตร การคุ้มครองการละเมิดสิทธิชุมชน สิทธิในที่ดิน

                  ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ส าหรับเจ้าหน้าที่ส านักงาน กสม. ขึ้น
   1   2   3   4   5   6   7   8