Page 6 - รายงานสรุปผลการดำเนินโครงการฝึกอบรมหลักสูตรการคุ้มครองการละเมิดสิทธิชุมชน สิทธิในที่ดิน ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม สำหรับเจ้าหน้าที่สำนักงาน กสม. ระหว่างวันที่ 19-23 สิงหาคม 2566 ณ โรงแรมกรุงศรีริเวอร์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
P. 6
๔
สาระส าคัญ :
1. สิทธิมนุษยชน: กฎหมาย และกติการะหว่างประเทศ
1.1 สิทธิขั้นพื้นฐาน
การส่งเสริมกฎหมายลายลักษณ์อักษร ด้วยการให้ความหมายโดยละเอียดเกี่ยวกับ
สิทธิมนุษยชน เพื่อให้สะดวกต่อการตีความกรณีการละเมิดสิทธิมนุษยชน และบังคับใช้กฎหมายได้อย่าง
เหมาะสม ตลอดจนการป้องกันความไม่เป็นธรรมจากการออกกฎหมาย กฎหมายมหาชน การออกกฎหมายต้อง
ครอบคลุมการคุ้มครองสิทธิของประชาชน หน้าที่ของรัฐ และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช
2560 หมวด 5 หน้าที่ของรัฐ มาตรา 51 ได้บัญญัติไว้ว่าประชาชนและชุมชนมีสิทธิที่จะติดตามและเร่งรัด
ให้รัฐด าเนินการ หากรัฐไม่ด าเนินการดังกล่าว ประชาชนและชุมชนสามารถฟ้องร้องหน่วยงานรัฐได้
1.2 สิทธิมนุษยชนตามกฎหมายระหว่างประเทศ
กฎหมายระหว่างประเทศเป็นกลไกเพื่อด าเนินการแก้ไขปัญหาด้านสิทธิมนุษยชนที่ได้
ก าหนดแนวคิดการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในด้านต่าง ๆ จึงจ าเป็นต้องพัฒนา ตีความ วินิจฉัยกฎหมายและ
กติการะหว่างประเทศ การต่อสู้ระหว่างเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม การเข้าถึงทรัพยากร การต่อสู้ของภาค
ประชาชน ดังเช่นกรณีตัวอย่างการผลักดันขององค์กรพัฒนาภาคเอกชน (NGOs) ให้เกิดการรับรองสิทธิชน
เผ่าพื้นเมือง โดยยกเหตุผลว่าชนพื้นเมืองท าหน้าที่ดูแลสิ่งแวดล้อม และค าพิพากษาของศาลออสเตรเลียให้
การยอมรับเรื่องดังกล่าว และส่งผลไปถึงการออกกฎหมายสิ่งแวดล้อมท้องถิ่นอีกด้วย ในส่วนของประเทศ
ไทยนั้น ยังไม่มีการผลักดันหลักกฎหมายจารีตประเพณี ที่ยึดโยงกับหลักสิทธิมนุษยชนในการคุ้มครองคน
พื้นเมืองอย่างเป็นรูปธรรม
1.3 กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International
Covenant on Civil and Political Rights – ICCPR)
ได้รับรองสิทธิในการมีชีวิตอยู่ ความเสมอภาคทางกฎหมายและได้รับการคุ้มครองอย่าง
เท่ากัน รับรองสิทธิของชนพื้นเมือง สิทธิชุมชน รวมถึงการชุมนุมอย่างสันติเพื่อที่ชุมชนจะสามารถมีส่วนร่วม
ในการก าหนดกิจการสาธารณะที่ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อม
1.4 ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาฉบับ ค.ศ. 1972 (ปฏิญญาสตอกโฮล์ม)
ก าหนดให้รัฐต้องวางหลักการบริหารจัดการและรับผิดชอบในผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
และปฏิญญาสากลว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา ฉบับ ค.ศ. 1992 (ปฏิญญาริโอ) ได้เพิ่มประเด็นสิทธิ
เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมเพิ่มเติมจากปฏิญญาสตอกโฮล์มในเรื่องสิทธิของชนพื้นเมืองและชุมชนท้องถิ่นในการ
จัดการและพัฒนาสิ่งแวดล้อม
1.5 อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร
การมีส่วนร่วมสาธารณะในการตัดสินใจ และการเข้าถึงความยุติธรรมในคดีสิ่งแวดล้อม
รองรับสิทธิเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมเชิงกระบวนการ 2 ประเภท ได้แก่
1) สิทธิในสิ่งแวดล้อมเชิงกระบวนการ ประชาชนต้องมีเสรีภาพในการรับ-ส่ง แลกเปลี่ยน
ข้อมูลข่าวสารเพื่อเป็นข้อมูลในกระบวนการตัดสินใจในประเด็นสิ่งแวดล้อม
2) สิทธิเชิงเนื้อหา เป็นการก าหนดหน้าที่แก่รัฐที่จะต้องคุ้มครองประชาชนให้อยู่ใน
สิ่งแวดล้อมที่ดี และต้องมีการเยียวยาให้ประชาชนที่ได้รับความเสียหายทางสิ่งแวดล้อมอันเกิดจากการที่รัฐ
ละเลยการปฏิบัติหน้าที่ การเข้าถึงข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อม การตัดสินใจด้านสิ่งแวดล้อม การคุ้มครองดังกล่าว
ต้องครอบคลุมในระดับปัจเจกชน และระดับกลุ่ม ระดับปัจเจกบุคคลเริ่มจากการให้สัญชาติแก่ชนเผ่าพื้นเมือง