Page 13 - รายงานการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ สิทธิชุมชนในการจัดสรรทรัพยากรน้ำโดยใช้แนวทางสันติวิธี : กรณีศึกษาพื้นที่ต้นน้ำของประเทศไทย
P. 13
1
บทที่ 1
บทน า
1.1 ความส าคัญและที่มาของปัญหาที่ท าการวิจัย
สิทธิชุมชน (Communities Rights) ในประเทศไทยเป็นที่รับรู้และมีการกล่าวถึงกันอย่าง
กว้างขวางเมื่อประมาณ 20 ปีที่ผ่านมา อันนับเป็นผลผลิตจากการปฏิรูปการเมืองซึ่งก่อให้เกิด
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ซึ่งสิทธิชุมชนเป็นสิ่งที่แนบแน่นอยู่กับวิถีชีวิต
ของพื้นที่ชุมชนนั้น โดยนัยแห่งความหมายแล้ว สิทธิชุมชนถือเป็นสิทธิของชุมชนหรือสิทธิของ
ประชาชนที่รวมกันเป็นกลุ่มก้อนและด้าเนินชีวิตร่วมกันภายใต้แบบแผนการปกครองที่แน่นอน
อย่างใดอย่างหนึ่งในความหมายกว้าง ซึ่งหมายรวมทั้งชุมชนทั่วไปในแบบของชุมชนท้องถิ่น (Local
Community) และในแบบของชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม (Traditional local Community) ในฐานะที่
เป็นหมู่คณะที่ด้าเนินวิถีชีวิตร่วมกันและเป็นที่รับรู้แก่สาธารณชน ในลักษณะที่ได้รับการยอมรับว่ามี
ตัวตนและมีความสามารถ มีสิทธิในทางใดทางหนึ่งด้วย (กิตติศักดิ์ ปรกติ, 2550)
ในขณะที่ “สิทธิชุมชน” อันเกี่ยวข้องกับการจัดสรรทรัพยากรน้้านั้น อาจกล่าวได้ว่าเป็นสิทธิ
ในการจัดสรรทรัพยากรตามแนวทางบริหารจัดการทรัพยากรร่วม (ตามกติกา Ostrom) ดังนี้ 1) สิทธิ
ในการเข้าใช้ทรัพยากร (Access) 2) สิทธิในการใช้ประโยชน์จากทรัพยากร (Withdrawal) 3) สิทธิใน
การจัดการ (Management) คือ สิทธิที่อนุญาตให้ผู้มีสิทธิสามารถปรับเปลี่ยนสภาพของระบบ
ทรัพยากรได้ รวมถึงก้าหนดรูปแบบการใช้ทรัพยากรด้วย และ 4) สิทธิในการกีดกัน (Exclusion) คือ
สิทธิที่ก้าหนดว่าใครสามารถเข้าใช้ประโยชน์จากระบบทรัพยากรได้หรือไม่ได้ และ 5) สิทธิในการขาย
หรือให้ยืมสิทธิทั้ง 4 ประเภทก่อนหน้านี้ (อรทัย อินต๊ะไชยวงค์, 2560) ซึ่งสิทธิชุมชนในการจัดสรร
ทรัพยากรน้้า นับเป็นประเด็นส้าคัญที่พลเมืองต้องตระหนักรู้ในสิทธิของการเข้าถึงทรัพยากรน้้าและ
การมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการน้้า โดยปรากฏการณ์ในระดับสากลพบว่า องค์การสหประชาชาติ
ได้ยกประเด็นเรื่องสิทธิในน้้าขึ้นมาเป็นวาระส้าคัญตั้งแต่ปี ค.ศ. 1977 ในการประชุม United Nations
Water Conference in Mar del Plata ณ ประเทศอาร์เจนตินา (United Nations Division for
Economic and Social Information, 1977) และส้าหรับประเทศไทยก็ปรากฏอย่างเป็นรูปธรรม
นับตั้งแต่เริ่มมีรัฐธรรมนูญฉบับปีพุทธศักราช 2540 ซึ่งได้ระบุค้าว่า “สิทธิในน้้า” และ “สิทธิชุมชน”
อันนับเป็นค้าที่เกิดใหม่มาพร้อมกับกระบวนการมีส่วนร่วมตามรัฐธรรมนูญของไทยเมื่อปี พ.ศ. 2540
(ชาติชาย วิริยะเจริญกิจ และสุรัสวดี แสนสุข, 2560) และกระบวนสร้างความหมายว่า “ทรัพยากรน้้า”