Page 36 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการจัดทำข้อเสนอแนะ มาตรการหรือแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2555 เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
P. 36

29


                       สำหรับผู้ที่อพยพเข้ามาหลังวันที่ 15 พฤศจิกายน 2520 ถือเป็นผู้หลบหนีเข้าเมืองแต่ได้รับการผ่อน

               ผันให้อาศัยอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว ซึ่งต่อมามีมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 3 สิงหาคม 2547 อนุมัติการ

               แปลงสัญชาติเป็นไทยแก่ผู้ที่เข้าหลัง วันที่ 15 พฤศจิกายน 2520 ส่วนบุตรที่เกิดในประเทศไทยให้ได้สัญชาติ

               ไทยตามพระราชบัญญัติสัญชาติไทย พ.ศ. 2508 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 มาตรา 7 ทวิ วรรคสอง
               และต่อมาเมื่อวันที่  7 ธันวาคม 2553 ได้มีมติคณะรัฐมนตรีให้ยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีฉบับเดิมที่เกี่ยวกับการ

               กำหนดสถานะให้แก่ชนกลุ่มน้อย และกำหนดหลักเกณฑ์การให้สถานะบุคคลแก่ผู้อพยพเชื้อสายไทยจาก

               จังหวัดเกาะกง ประเทศกัมพูชา ที่เข้ามาก่อนและหลังวันที่ 15 พฤศจิกายน 2520 โดยให้สัญชาติไทยโดยการ

               แปลงสัญชาติเป็นกรณีพิเศษ ส่วนบุตรของบุคคลดังกล่าวที่เกิดขึ้นในประเทศไทยให้มีสัญชาติไทยตาม

               พระราชบัญญัติสัญชาติไทย พ.ศ. 2508 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 มาตรา 7 ทวิ วรรคสอง
                       หลักเกณฑ์ของความเป็นผู้พลัดถิ่นตามความเห็นของรัฐบาลไทย

                       มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2553 ให้ความเห็นชอบหลักเกณฑ์ที่ใช้ในการจำแนกบุคคลซึ่ง

               เป็นผู้พลัดถิ่นสัญชาติพม่าเชื้อสายไทยและกลุ่มผู้อพยพเชื้อสายไทยจากจังหวัดเกาะกง กัมพูชา ดังนี้

                       1.  มีภูมิลำเนาอาศัยอยู่ในราชอาณาจักรไทยต่อเนื่องและมีชื่ออยู่ในเอกสารทะเบียนราษฎร ต้องพูด

                          และเข้าใจภาษาไทย มีรูปร่างลักษณะและวิถีชีวิตเหมือนคนไทย และสามารถพูดและฟัง

                          ภาษาไทยเข้าใจ
                                       47
                       2.  ต้องมีความจงรักภักดีต่อประเทศไทยและเลื่อมใสการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมี

                          พระมหากษัตริย์เป็นประมุข

                       3.  มีความประพฤติดี โดยไม่เคยรับโทษคดีอาญา ยกเว้นความผิดโดยประมาทหรือลหุโทษ ทั้งนี้หาก

                          ได้รับโทษในคดีอาญาต้องพ้นโทษมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี นับถึงวันที่ยื่นคำร้อง

                       4.  ประกอบอาชีพสุจริต

                       5.  ไม่ปรากฏหลักฐานการมีและใช้สัญชาติอื่น

                       ส่วนกรณีบุตรของคนพลัดถิ่นที่เกิดในประเทศไทย มีหลักเกณฑ์ในการกำหนดสถานะ ดังนี้


                       1.  ไม่ปรากฏหลักฐานการมีและใช้สัญชาติอื่น

                       2.  เป็นบุคคลที่เกิดและมีภูมิลำเนาราชอาณาจักรต่อเนื่อง โดยมีชื่ออยู่ในเอกสารทะเบียนราษฎรและ

                          มีเอกสารทางราชการที่แสดงว่าเกิดในประเทศไทย

                       3.  ได้รับการศึกษาตามหลักสูตรที่ราชการไทยกำหนดหรือสามารถพูดและฟังภาษาไทยเข้าใจ ยกเว้น
                          กรณีเด็กที่อายุต่ำกว่า 7 ปี





               47  กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย, การพิสูจน์และรับรองความเป็นคนไทยพลัดถิ่น
               ,เว็บไซต์ https://www.dopa.go.th/public_service/service_guide416/view428, สืบค้นวันที่ 20 ธันวาคม 2564
   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41