Page 112 - รายงานผลการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะ มาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน (ฉบับสมบูรณ์)
P. 112

บทที่ 3






               สถานการณ์ในประเทศไทย





               3.1  บทน ำ


                       การจัดการทรัพยากรที่ดินในบริบทของประเทศไทยมีพัฒนาการและสภาพปัญหาที่ซับซ้อน ส่วนหนึ่ง

               เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงกฎหมายให้เป็นสมัยใหม่ของไทย ซึ่งรับเอาแนวคิดเรื่องกรรมสิทธิ์ในที่ดินเข้ามา

               เพราะในอดีตนั้นระบบกฎหมายไทยไม่มีแนวคิดเรื่องกรรมสิทธิ์ในที่ดิน การครอบครองเป็นเพียงสิ่งเดียว
               ที่แสดงถึงการใช้ประโยชน์ในที่ดินนั้นและแสดงถึงความมีสิทธิเป็นเจ้าของในที่ดิน เมื่อยอมรับระบบกรรมสิทธิ์

               เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายไทย ท าให้การครอบครองแยกออกต่างหากจากความเป็นเจ้าของบุคคล
               ซึ่งเข้ามาบุกเบิกที่ดินและท ากินในพื้นที่ จึงกลายเป็นผู้บุกรุกไปโดยปริยายเนื่องจากกฎหมายไม่ได้รับรอง

               สิทธิของผู้บุกเบิกที่ดินนั้นไว้ในฐานะผู้มาก่อน ลักษณะของสถานการณ์ในปัจจุบันคือ รัฐบาลไทยยังไม่มีความ
               ชัดเจนทั้งในทางนโยบายและการบังคับใช้กฎหมาย กล่าวคือ ในช่วงเวลาหนึ่งรัฐมีนโยบายที่ผ่อนปรนให้

               ประชาชนอยู่อาศัยและท าประโยชน์ในที่ดินได้ แต่ในบางขณะรัฐก็เข้มงวดในการใช้มาตรการบังคับอพยพหรือ

               ขับไล่ออกจากพื้นที่สร้างความไม่แน่นอนในสิทธิให้กับประชาชน


               3.2  กรณีศึกษำเฉพำะพื้นที่


                       การศึกษาสถานการณ์ของประเทศไทย ผู้วิจัยได้ศึกษาสภาพปัญหา 4 ลักษณะ ได้แก่ (1) พื้นที่

               ป่าไม้และเขตอุทยาน (2) พื้นที่วัฒนธรรม (3) พื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจ และ (4) พื้นที่เขตทหาร ซึ่งสภาพ
               ปัญหาดังกล่าวเป็นภาพแทนของ 4 กลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากนโยบายของรัฐและกฎหมายภายในประเทศ

               ที่มากระทบสิทธิในการใช้ประโยชน์ที่ดิน ดังนี้

                       3.2.1  พื้นที่ป่ำไม้และเขตอุทยำน


                       3.2.1.1  ภาพรวมของสถานการณ์

                       ในการศึกษาพื้นที่ป่าไม้และเขตอุทยานเกิดจากการที่ชาวบ้านได้เข้ามาบุกเบิกและท ากินในพื้นที่

               ดังกล่าวก่อนการประกาศเขตเป็นพื้นที่ป่าสงวนหรือเขตอุทยาน ท าให้ชาวบ้านที่อยู่อาศัยและท ากินในพื้นที่
               มีหน้าที่จะต้องพิสูจน์สิทธิของตนเองว่าได้เป็นผู้ครอบครองพื้นที่ดังกล่าวมาก่อนการประกาศเขตพื้นที่ป่าสงวน

               หรืออุทยาน  อย่างไรก็ตาม ในการพิสูจน์สิทธิของชาวบ้านนั้นเกิดปัญหานานาประการ เช่น ในกรณีของ
               ชาวกะเหรี่ยงในพื้นที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน พื้นที่ดังกล่าวไม่เคยเป็นพื้นที่ที่มีการด าเนินการเพื่อออกโฉนด

               หรือเอกสารสิทธิแต่อย่างใด หรือในกรณีของชาวบ้านในเขตอุทยานแห่งชาติไทรทองที่กระบวนการพิสูจน์

               สิทธิเป็นไปอย่างไม่เป็นระบบระเบียบ เป็นต้น ซึ่งในการศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัยได้ศึกษาลงไปใน 3 พื้นที่ ดังนี้



                                                           3-1
   107   108   109   110   111   112   113   114   115   116   117