Page 111 - รายงานผลการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะ มาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน (ฉบับสมบูรณ์)
P. 111

รายงานผลการศึกษาวิจัยเพื่อจัดท าข้อเสนอแนะ มาตรการ หรือแนวทางในการส่งเสริมและ
               คุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน


               ซึ่งเป็นกฎหมายใหม่ ได้ริเริ่มการจัดตั้งป่าชุมชน ได้รวมเอาหลักการของ Elinor Ostrom บางประการมาใช้

               เช่น การระบุขอบเขตการใช้ทรัพยากร การค านึงถึงศักยภาพของชุมชนให้สอดคล้องกับพื้นที่ เป็นต้น แสดงให้
               เห็นถึงพัฒนาการของแนวคิดในกฎหมายการจัดการทรัพยากรของไทย ที่เคลื่อนไปในทิศทางที่ให้สิทธิแก่

               ประชาชนมากขึ้น

                       อย่างไรก็ตาม เนื่องจากกฎหมายทุกฉบับที่กล่าวมาเป็นกฎหมายในล าดับพระราชบัญญัติที่ประกาศใช้

               ได้ไม่นาน จึงยังไม่มีกฎหมายล าดับรองก าหนดเรื่องในรายละเอียด จากการสัมภาษณ์พบว่าหลายฝ่ายยังมีข้อ

               กังวลอยู่ ซึ่งจะได้ศึกษาเพิ่มเติมและรวบรวมเป็นผลการวิเคราะห์สภาพปัญหา ในบทที่ 4 ต่อไป


               2.4  สรุป


                       จากการรวบรวมบริบทของสิทธิมนุษยชนในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมนั้น ท าให้

               เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างสิทธิของปัจเจกบุคคล การรวมกลุ่มเป็นชุมชน และทรัพยากรธรรมชาติ ทั้งใน
               บริบทระหว่างประเทศและประเทศไทย ว่าถึงแม้สิทธิชุมชนจะไม่ใช่สิทธิมนุษยชนเช่นเดียวกับสิทธิของ

               ชนพื้นเมืองดั้งเดิม แต่ด้วยลักษณะของการอยู่ร่วมกันในพื้นที่หนึ่งซึ่งมีสิ่งแวดล้อมเดียวกันนั้น ท าให้มีหน้าที่
               และความรับผิดชอบร่วมกัน รวมถึงมีสิทธิเชิงกระบวนการในการที่จะรับประกันสิทธิในสิ่งแวดล้อมของตนเอง

               และชุมชน จึงสามารถที่จะมีส่วนร่วมในการจัดการร่วมกับรัฐ โดยเฉพาะในเรื่องที่ดินและป่าไม้

                       ในขณะที่การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยรัฐเป็นศูนย์กลางไม่อาจบรรลุ

               วัตถุประสงค์ได้ การศึกษาแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติที่ยั่งยืนนั้น ท าให้ทิศทางของ

               การใช้สิทธิในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติเป็นรูปธรรมมากขึ้น รวมถึงการมีแนวทางในการออกแบบ
               กฎหมายและนโยบายที่จะน าไปสู่การรองรับสิทธิและส่งเสริมจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน ตาม

               เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ

                       อย่างไรก็ตาม กฎหมายในล าดับพระราชบัญญัติของประเทศไทยยังมีปัญหาอยู่มาก เนื่องจากความ

               ไม่สอดคล้องกับหลักการในรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายในล าดับศักดิ์ที่สูงกว่า รวมถึงเรื่องความซับซ้อนของของ
               ปัญหาและการบริหารจัดการที่ไม่เป็นเอกภาพของหน่วยงาน ขาดการบูรณาการข้อมูล การแก้ปัญหาที่ขาด

               ความต่อเนื่อง  ยิ่งไปกว่านั้น ยังก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐและประชาชนในพื้นที่ น าไปสู่การ
               จัดการที่รุนแรงและละเมิดสิทธิประชาชน


                       ในบทต่อไปจะได้ท าการทบทวนสถานการณ์ในประเทศไทย จากกรณีศึกษาปัญหาในพื้นที่เพื่อสะท้อน
               ให้เห็นปัญหาที่เกิดขึ้นและน ามาวิเคราะห์สภาพปัญหาต่อไป














               2-92                                                             สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย
   106   107   108   109   110   111   112   113   114   115   116