Page 5 - อนุสัญญาว่าด้วยการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร การมีส่วนร่วมของประชาชนในการตัดสินใจ และการเข้าถึงความยุติธรรมในเรื่องสิ่งแวดล้อม: จัดทำขึ้น ณ เมืองออร์ฮูส ประเทศเดนมาร์ก วันที่ 25 มิถุนายน 2541
P. 5
3
ตระหนักยิ่งขึ้นถึงความส าคัญของบทบาทที่เกี่ยวข้องซึ่งประชาชนแต่ละคน องค์กรพัฒนาเอกชน และ
ภาคเอกชนสามารถมีบทบาทในการปกป้องสิ่งแวดล้อม
ปรารถนาที่จะส่งเสริมการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อเพิ่มพูนความเข้าใจเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและการ
พัฒนาที่ยั่งยืน และเพื่อส่งเสริมความตระหนักรู้ของสาธารณชนในวงกว้างและการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจที่จะ
ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาที่ยั่งยืน
ข้อสังเกตในบริบทนี้คือความส าคัญของการใช้สื่อและสื่ออิเล็กทรอนิกส์หรือการสื่อสารรูปแบบอื่น ๆ ใน
อนาคต
ตระหนักถึงความส าคัญของการบูรณาการข้อพิจารณาด้านสิ่งแวดล้อมอย่างเต็มที่ในการตัดสินใจของ
รัฐบาล และความจ าเป็นที่หน่วยงานของรัฐจะต้องถือปฏิบัติเพื่อให้มีข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมที่ถูกต้อง ครอบคลุม
และเป็นปัจจุบัน
รับทราบว่าหน่วยงานของรัฐมีการจัดเก็บข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อประโยชน์สาธารณะ
ใส่ใจว่ากลไกการพิจารณาคดีที่มีประสิทธิภาพควรเข้าถึงได้โดยสาธารณชน รวมถึงองค์กร เพื่อให้เกิดการ
คุ้มครองผลประโยชน์ที่ชอบด้วยกฎหมาย และมีการบังคับใช้กฎหมาย
สังเกตถึงความส าคัญของการให้ข้อมูลของผลิตภัณฑ์อย่างเพียงพอ แก่ผู้บริโภค เพื่อเป็นข้อมูลทางเลือก
ด้านสิ่งแวดล้อม
ตระหนักถึงความกังวลใจของสาธารณชนเกี่ยวกับการจงใจปล่อยสิ่งมีชีวิตที่ดัดแปลงพันธุกรรมสู่
สิ่งแวดล้อม และความจ าเป็นในการเพิ่มความโปร่งใสและการมีส่วนร่วมของประชาชนมากขึ้นในการตัดสินใจ
เชื่อมั่นว่าการปฏิบัติตามอนุสัญญานี้จะน าไปสู่การเสริมสร้างประชาธิปไตยในภูมิภาคของ
คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจแห่งสหประชาชาติยุโรป (ECE)
ตระหนักถึงบทบาทในเรื่องนี้โดย ECE และระลึกถึงแนวทาง ECE ว่าด้วยการเข้าถึงข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อม
และการมีส่วนร่วมของสาธารณชนในการตัดสินใจด้านสิ่งแวดล้อมซึ่งรับรองในปฏิญญารัฐมนตรีโดยการรับรองใน
การประชุมระดับรัฐมนตรีครั้งที่สามคือ "สิ่งแวดล้อมส าหรับยุโรป" ที่เมืองโซเฟีย ประเทศบัลกาเรีย เมื่อวันที่ 25
ตุลาคม พ.ศ. 2538
โดยค านึงถึงบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องในอนุสัญญาว่าด้วยการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมในบริบทข้าม
พรมแดน ซึ่งท าขึ้น ณ เมืองเอสโป ประเทศฟินแลนด์ เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 และอนุสัญญาว่าด้วย
การเกิดอุบัติภัยจากภาคอุตสาหกรรมที่มีผลกระทบข้ามแดนและอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองและการใช้ล าน้ า
ข้ามพรมแดนและทะเลสาบระหว่างประเทศ (International Lakes) ทั้งสองฉบับท าที่เฮลซิงกิ เมื่อวันที่ 17
มีนาคม พ.ศ. 2535 และการประชุมระดับภูมิภาคอื่น ๆ
โดยตระหนักว่าการยอมรับอนุสัญญานี้จะมีส่วนช่วยให้กระบวนการ "สิ่งแวดล้อมส าหรับยุโรป" เข้มแข็ง
ยิ่งขึ้น และผลการประชุมระดับรัฐมนตรีครั้งที่สี่ที่เมืองออร์ฮุส ประเทศเดนมาร์ก ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2541
ได้ตกลงกัน ดังนี้