Page 61 - คู่มือประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน และรายการตรวจสอบของภาคธุรกิจ
P. 61
กรอบการท�า HRDD 7
4 สร้างและอาศัย “จุดคานงัด” ในความสัมพันธ์ทางธุรกิจ
หลักการชี้แนะ UNGP นิยาม “จุดคานงัด (Leverage)” ว่าหมายถึง ความสามารถของบริษัท “ในการสร้างการ
เปลี่ยนแปลงในกิจกรรมขององค์กรใดก็ตามที่ก่อความเสียหาย” หรือพูดง่ายๆ คือ ความสามารถในการส่งอิทธิพลต่อ
พฤติกรรมของผู้อื่น จุดคานงัดมิได้เป็นตัวกำาหนดว่าบริษัทมีความรับผิดชอบต่อผลกระทบใดๆ หรือไม่ เนื่องจากความ
รับผิดชอบเกิดจากการมีส่วนร่วมของบริษัทผ่านการกระทำาของตัวเอง การมีส่วนร่วมหรือ “ความเชื่อมโยง” (ดูรายละเอียด
ในบทก่อนๆ) จุดคานงัดสำาคัญสำาหรับการระบุวิธีจัดการกับผลกระทบ บริษัทควรใช้คานงัดของตัวเองเป็นเครื่องมือ
ในความพยายามที่จะเปลี่ยนพฤติกรรมของพันธมิตรทางธุรกิจที่เกี่ยวข้อง ถ้าหากบริษัทไม่มีคานงัด ก็อาจมีวิธีเพิ่ม
จุดคานงัดที่ว่านี้ได้
ถ้าหากเวลาผ่านไปแล้วบริษัทพบว่าเป็นไปไม่ได้เลยที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงผ่านจุดคานงัดของตนเอง บริษัท
ก็ควรจะพิจารณายกเลิกความสัมพันธ์ดังกล่าว โดยคำานึงถึงประเด็นต่อไปนี้
• การประเมินที่น่าเชื่อถือเรื่องผลกระทบเชิงลบจากการยกเลิกความสัมพันธ์
• ข้อเท็จจริงที่ว่ายิ่งผลกระทบรุนแรงเพียงใด ธุรกิจยิ่งจำาเป็นจะต้องมองเห็น
การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ก่อนที่จะตัดสินใจว่าจะยกเลิกความ
สัมพันธ์นั้นๆ หรือไม่ ถ้าหากบริษัทรักษาความสัมพันธ์ทางธุรกิจที่มาพร้อม
กับความเสี่ยงผลกระทบขั้นรุนแรง ยกตัวอย่างเช่น ในกรณีที่บริษัทพบว่า
ไม่มีทางเลือกอื่น บริษัทก็จำาเป็นจะต้องแสดงให้เห็นว่ากำาลังพยายาม
บรรเทาความเสี่ยงนั้นอย่างไร และพร้อมรับผลพวงใดๆ ก็ตามที่มาจาก
การรักษาความสัมพันธ์ ไม่ว่าจะเป็นด้านกฎหมาย ชื่อเสียง หรือการเงิน
เงื่อนไขสัญญาและข้อตกลงอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับโครงการ อย่างเช่น บันทึกความเข้าใจ (Memorandum of
Understanding: MoU) มีบทบาทสำาคัญยิ่งในการกำาหนดว่าบริษัทมีจุดคานงัดใดบ้างในความสัมพันธ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น
ความสัมพันธ์กับรัฐ บริษัทร่วมทุน คู่ค้า ผู้รับเหมา หรือองค์กรอื่นๆ
61