Page 14 - คู่มือประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน และรายการตรวจสอบของภาคธุรกิจ
P. 14
ควรบูรณาการสิ่งที่ค้นพบจากการประเมินผลกระทบเข้ากับการดำาเนินธุรกิจ (หลักการข้อ 19) – เพื่อป้องกัน
หรือลดผลกระทบทางลบด้านสิทธิมนุษยชน การบูรณาการที่มีประสิทธิผลควรเริ่มจากการมอบหมายผู้รับผิดชอบ
ที่เหมาะสม และบูรณาการข้อค้นพบเข้ากับกระบวนการตัดสินใจ งบประมาณ และกลไกกำากับดูแลภายใน แต่มาตรการ
ที่เหมาะสมจะแตกต่างออกไปตามแต่ละบริษัท ขึ้นอยู่กับระดับของการเข้าไปมีส่วนร่วมกับการสร้างผลกระทบ (เช่น
เกิดจากกิจกรรมทางตรงของบริษัทเอง หรือเกิดในระดับผู้จำาหน่ายวัตถุดิบให้กับคู่ค้า) และอำานาจต่อรองของธุรกิจในการ
แก้ปัญหา
ติดตามตรวจสอบประสิทธิผลของการแก้ปัญหา โดยใช้ตัวชี้วัดและข้อมูลสนับสนุนที่เหมาะสม (หลักการ
ข้อ 20) – เพื่อให้มั่นใจได้ว่าผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนกำาลังถูกขจัดหรือบรรเทาอย่างแท้จริง
มีความพร้อมที่จะสื่อสารเรื่องนี้ต่อสาธารณะ (หลักการข้อ 21) – เพื่อแสดงความรับผิดชอบและเพิ่มความ
โปร่งใส การสื่อสารนั้นควรสะท้อนผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน ผู้มีส่วนได้เสียเข้าถึงได้ ให้ข้อมูลข่าวสารที่เพียงพอ
ต่อการประเมินว่าธุรกิจได้ตอบสนองในประเด็นนั้นๆ อย่างเพียงพอแล้วหรือไม่ และต้องไม่ส่งผลให้ผู้มีส่วนได้เสีย
บุคลากร หรือความลับทางธุรกิจต้องตกอยู่ในอันตราย
จัดให้มีหรือร่วมมือในการเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้น (หลักการข้อ 22) – ทุกกรณีที่ธุรกิจก่อให้เกิดหรือ
มีส่วนร่วมในการละเมิดสิทธิมนุษยชน
กล่าวโดยสรุป กระบวนการ HRDD เป็นองค์ประกอบที่ขาดไม่ได้ของการพิสูจน์ว่า บริษัทกำาลังเคารพสิทธิมนุษยชน
ซึ่งหลักการชี้แนะ UNGP ก็กำาหนดให้การเคารพสิทธิมนุษยชนเป็น “ความรับผิดชอบ” ของบริษัท โดยบริษัทต้อง “รู้และ
แสดง” (Know and Show) ด้วยแนวทางต่อไปนี้
การสร้างข้อผูกมัดด้านสิทธิมนุษยชนในนโยบายของบริษัท
ทำางานเชิงรุกด้วยกระบวนการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน
แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นและชดเชยต่อกรณีการละเมิดสิทธิที่เกิดขึ้น หรือไม่อาจหลีกเลี่ยงได้จากการ
ดำาเนินงานของบริษัท
14