Page 19 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2561
P. 19
รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๖๑
บทสรุปผู้บริหาร
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) มีหน้าที่และอ�านาจในการจัดท�ารายงานผลการประเมินสถานการณ์
ด้านสิทธิมนุษยชนตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ หมวด ๑๒ ส่วนที่ ๖ มาตรา ๒๔๗
และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๐ ซึ่งให้กระท�า
เป็นการสรุป โดยอย่างน้อยในรายงานต้องประกอบด้วย ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการส่งเสริมและคุ้มครอง
สิทธิมนุษยชน ให้แล้วเสร็จภายในเก้าสิบวันนับแต่วันสิ้นปีปฏิทิน เพื่อน�าเสนอต่อรัฐสภา คณะรัฐมนตรี (ครม.) และเผยแพร่
ต่อประชาชน พร้อมก�าหนดให้มีแผนการด�าเนินการจัดท�ารายงานดังกล่าว เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่เป็นไปโดยไม่ชักช้า และ
แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่ก�าหนดไว้ ในขณะที่ ครม. ต้องด�าเนินการปรับปรุงแก้ไขตามความเหมาะสมโดยเร็วภายหลังจาก
ที่ได้รับทราบรายงานดังกล่าว และในกรณีใดที่มิอาจด�าเนินการได้ หรือต้องใช้เวลาในการด�าเนินการให้แจ้งเหตุผลให้ กสม.
ทราบโดยไม่ชักช้า
การจัดท�ารายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๖๑ กสม. ได้จัดท�ากรอบการประเมิน
การกลั่นกรองข้อเท็จจริง และประมวลข้อเสนอแนะในแต่ประเด็นอย่างเป็นระบบ ผ่านการรวบรวม สืบค้น และตรวจทาน
ข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ กล่าวคือ (ก) แหล่งข้อมูลปฐมภูมิจากการปฏิบัติงานของ กสม. ครอบคลุมการตรวจสอบกรณี
ร้องเรียน และการจัดกระบวนการรับฟังความคิดเห็น หรือการด�าเนินการอื่น ๆ (ข) แหล่งข้อมูลภาครัฐและภาคเอกชนที่
เกี่ยวข้องจากหนังสือน�าส่งข้อมูล การประชุม และการสัมภาษณ์ต่าง ๆ และ (ค) แหล่งข้อมูลจากภาควิชาการ สื่อและ
สาธารณชนทั่วไป โดยแบ่งเนื้อหาเป็น ๔ กลุ่ม ๑๔ ประเด็น และในแต่ละประเด็นจะน�าเสนอเป็น ๓ ส่วน คือ ๑) ภาพรวม ๒) การประเมิน
สถานการณ์ และปัญหาอุปสรรค และ ๓) ข้อเสนอแนะ โดยสรุป ดังนี้
18