Page 76 - ข้อเสนอแนะการเข้าถึงความยุติธรรมของผู้หญิงมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้
P. 76
๖
บทสรุป
ประเทศไทยเป็นภาคี CEDAW ซึ่งเป็นกลไกหลักในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของผู้หญิงและส่งเสริม
ความเสมอภาคระหว่างหญิงชายมาหลายทศวรรษ และร่วมรับรองข้อมติคณะมนตรีความมั่นคง ๑๓๒๕ ของ
สหประชาชาติที่จะส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้หญิงในการตัดสินใจทุกระดับในกระบวนการสันติภาพ การมีส่วนร่วม
ทางการเมือง รวมถึงเสนอและแก้ไขกฎหมาย ทั้งการป้องกันก่อนมีความขัดแย้งจนถึงการฟื้นฟูหลังความขัดแย้ง
ใช้มาตรการพิเศษและมาตรการที่เหมาะสมคุ้มครองผู้หญิงและเด็กหญิงจากความรุนแรงด้วยเหตุแห่งเพศโดย
เฉพาะอย่างยิ่งการข่มขืนและการละเมิดทางเพศรูปแบบอื่นๆ อย่างไรก็ตามไม่อาจปฏิเสธได้ว่า ผู้หญิงมุสลิมในจังหวัด
ชายแดนภาคใต้อีกมากมายยังคงเผชิญกับปัญหาความรุนแรงในครอบครัวและความรุนแรงทางเพศหลากหลาย
รูปแบบในชุมชน ปัญหาเหล่านี้เป็นเรื่องที่ผู้หญิงมุสลิมเหล่านี้จ�าต้องเก็บง�าไว้เพียงล�าพัง ไม่กล้าเปิดเผยให้บุคคล
ภายนอกครอบครัวได้รับรู้ ด้วยเห็นเป็นเรื่องน่าอาย เกรงการตีตราจากสังคม และเสี่ยงต่อสวัสดิภาพความปลอดภัย
หากผู้กระท�าเป็นผู้มีอิทธิพล ท�าให้ปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ได้ถูกพูดถึงในที่สาธารณะเท่าที่ควรและไม่ได้รับการแก้ไขจาก
หน่วยราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และผู้น�าศาสนาได้อย่างเหมาะสมทันท่วงที
ข้อค้นพบในการด�าเนินโครงการการเข้าถึงความยุติธรรมของผู้หญิงมุสลิมจังหวัดชายแดนภาคใต้ ของ
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติร่วมกับภาคีเครือข่าย พบว่ากระบวนการยุติธรรมของรัฐและองค์กรทางศาสนา
ยังไม่ได้รับฟังเสียงเรียกร้องของผู้หญิงที่ประสบปัญหาเท่าที่ควร มีหลายกรณีที่เจ้าหน้าที่ในกระบวนการยุติธรรม
ขั้นต้นเข้าใจผิดว่าการกระท�าความรุนแรงในครอบครัวและความรุนแรงทางเพศระหว่างชาวมุสลิมเป็นเรื่องที่มุสลิม
ต้องจัดการแก้ปัญหากันเอง มีหลายกรณีที่เจ้าหน้าที่ภาครัฐมีความรู้ความเข้าใจและทักษะในการจัดการกับปัญหา
ไม่เพียงพอ และมีหลายกรณีที่การจัดการปัญหาเป็นไปตามความเชื่อ ประเพณี ทัศนคติ หรือกฎชุมชนที่ไม่สอดคล้อง
กับหลักการศาสนาอิสลาม ไม่ค�านึงถึงความละเอียดอ่อนต่อมิติทางเพศสภาพในการแก้ไขปัญหาและผลกระทบต่างๆ
ที่ผู้หญิงมุสลิมได้รับ ตลอดจนหลายครั้งที่มักมีการอ้างเหตุผลทางศาสนาเพื่อรับรองความชอบธรรมในการใช้
ความรุนแรงต่อผู้หญิง โดยขาดการค�านึงถึงบริบทและเจตนารมณ์ของหลักการศาสนาอิสลามในการคุ้มครองผู้หญิง
บริบทความรุนแรงที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องกับผู้หญิงมุสลิมดังกล่าวจึงเป็นปัญหาที่ต้องรีบเร่งแก้ไขทั้งในระดับ
โครงสร้างและระดับปัจเจก การแก้ปัญหาในระดับโครงสร้าง เช่น ความจ�าเป็นต้องมีกฎหมาย กฎ ระเบียบ ค�าสั่ง
และนโยบายที่ค�านึงถึงความละเอียดอ่อนต่อมิติทางเพศสภาพเพื่อให้มั่นใจว่ารัฐมีมาตรการที่เหมาะสมและเพียงพอ
กับความต้องการของผู้ถูกกระท�า มีแนวปฏิบัติที่ชัดเจนและเป็นไปได้ มีการคุ้มครองที่เช้าถึงง่าย ทันเวลา รวมถึง
มีการฟื้นฟูเยียวยาต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นเพื่อให้ผู้หญิงเหล่านั้นสามารถจะด�ารงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมั่นคงและ
มีศักดิ์ศรีส่วนการแก้ปัญหาในระดับปัจเจกก็จ�าเป็นต้องสร้างค่านิยมการเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และปรับ
สัมพันธภาพเชิงอ�านาจระหว่างเพศให้สมดุลขึ้น ทั้งในกระบวนการอบรมเลี้ยงดูในครอบครัวและชุมชน กระบวนการ
เรียนการสอนในสถานศึกษาทุกระดับ รวมทั้งกระบวนการผลิตและเผยแพร่สื่อต่างๆ ด้วย อย่างไรก็ตาม เมื่อมีบริบท
ของการตีความทางศาสนาที่ไม่สอดคล้องกับหลักการอิสลาม และแบบอย่างการด�าเนินชีวิตของท่านศาสดามุฮัมมัด
ข้อเสนอแนะ การเข้าถึงความยุติธรรมของผู้หญิงมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ 65