Page 62 - ข้อเสนอแนะการเข้าถึงความยุติธรรมของผู้หญิงมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้
P. 62
ผมเห็นด้วยกับการจัดตั้งคณะอนุกรรมการในคณะกรรมการอิสลามประจ�าจังหวัดเพื่อจัดการปัญหากรณีที่
เกิดความรุนแรงต่อผู้หญิงขึ้นเป็นการเฉพาะ ซึ่งอาจเชิญผู้มีความรู้ทางศาสนาหรือผู้ที่มีความรู้ที่เป็นหญิงเข้ามาเป็น
หนึ่งในคณะอนุกรรมการเมื่อเกิดเหตุความรุนแรงขึ้นให้คณะอนุกรรมการซึ่งเป็นหญิงได้พบผู้เสียหายเพื่อด�าเนินการ
ในเบื้องต้น จากประสบการณ์การท�างานช่วยเหลือสังคมกรณีการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยน�้าท่วมในพื้นที่อ�าเภอ
แม่สอดที่ผ่านมา พบว่า อาสาสมัครซึ่งเข้ามาช่วยเหลือสังคมส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง
ข้อเสนอต่อ กสม.
“กสม. ควรเปิดพื้นที่ให้มีการหารือกับคณะกรรมการกลางอิสลามและส�านักจุฬาราชมนตรี เพื่อให้ตระหนัก
ถึงความส�าคัญของประเด็นปัญหาความรุนแรงต่อสตรี และแสวงหาแนวทางร่วมกันในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวให้เกิด
ผลในทางปฏิบัติ อีกทั้งควรมีการติดตามผลการด�าเนินงานและปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้น
คณะกรรมการอิสลามประจ�าจังหวัดควรมีหน่วยงานซึ่งรับผิดชอบประเด็นนี้เป็นการเฉพาะ รวมทั้งมีการ
ประเมินผลการท�างานในรอบปีให้เกิดผลในรูปธรรมที่ชัดเจนขึ้น ปัญหาในพื้นที่แม่สอดก็มีความรุนแรงไม่น้อยกว่า
ในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ ซึ่งที่ผ่านมาคนในชุมชนมุสลิม คนในท้องถิ่น และผู้น�าศาสนาไม่น�าพาในปัญหานี้เนื่องจาก
ส่วนใหญ่เป็นคนต่างด้าว ท�าให้เกิดการสะสมปัญหามากขึ้น ในขณะเดียวกันเจ้าหน้าที่ต�ารวจ พนักงานสอบสวน และ
เจ้าหน้าที่หน่วยงานรัฐก็ยังไม่เข้าใจประเด็นเพศสภาพและสิทธิมนุษยชนของผู้หญิงอย่างลึกซึ้ง จึงเพิกเฉยต่อปัญหา
เนื่องจากรับรู้ว่าผู้น�าของท้องถิ่นไม่ได้ให้ความสนใจต่อปัญหานี้ และยังมีความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง เช่น ความเข้าใจว่า
คู่สมรสที่สมรสกันตามกฎหมายแล้วนั้น สามีสามารถท�าร้ายภรรยาได้และเป็นเรื่องในครอบครัว
ข้อเสนอแนะ การเข้าถึงความยุติธรรมของผู้หญิงมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ 51