Page 58 - ข้อเสนอแนะการเข้าถึงความยุติธรรมของผู้หญิงมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้
P. 58
๔
ประมวลประเด็นส�าคัญ
ในการส่งเสริมการเข้าถึงความยุติธรรมของผู้หญิงมุสลิม
จังหวัดชายแดนภาคใต้
จากการด�าเนินกิจกรรมของ กสม. ในรูปแบบต่างๆ ทั้งการอบรม การประชุม การสัมมนาเชิงปฏิบัติการ และ
การสัมมนาระดับชาติ เพื่อส่งเสริมการเข้าถึงความยุติธรรมของผู้หญิงมุสลิมจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ผ่านมา
มีประเด็นที่เป็นแนวคิดและความเห็นที่จะเป็นประโยชน์ในการด�าเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อพัฒนา
ข้อเสนอแนะของผู้หญิงมุสลิมให้เป็นแนวปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมต่อไป ดังนี้
อคติที่ต้องก้าวข้าม
ซากีย์ พิทักษ์คุมพล ๒๖
ผู้แทนคณะกรรมกำรกลำงอิสลำมแห่งประเทศไทย
“ความรุนแรงเกิดกับผู้หญิงในทุกสังคม แม้ชุมชนมุสลิมก็ไม่มี
ข้อยกเว้น แม้ว่าจะมีการอ้างว่าศาสนาอิสลามมีการพูดถึงสิทธิสตรี…..
อย่างไรก็ตาม ทุกครั้งที่ท�างานกับมุสลิมหรือหลายๆ คนที่ไม่ใช่มุสลิม
โดยเฉพาะกับผู้รู้ทางศาสนา หลายคนจะยกว่าศาสนาอิสลามมีความสมบูรณ์
ประเด็นคือเราไม่ได้มีปัญหากับความสมบูรณ์หรือไม่สมบูรณ์ของศาสนา
อิสลาม แต่เราก�าลังมีปัญหากับวิธีการท�าความเข้าใจอิสลามหรือการตีความ
อิสลาม อิสลามมีความเป็นสากลแต่ก็มีผู้ตีความอย่างมากมาย สิ่งที่เราก�าลัง
พูดกันไม่ใช่ประเด็นเรื่องสิทธิหรือกฎหมาย แต่เป็นประเด็นเรื่องวัฒนธรรม
ที่อยู่ในสมอง ฝังรากลึก เราก�าลังต่อสู้กับอคติชุดใหญ่อยู่ 2 ชุด คือ
๑) ผู้ชายที่เป็นผู้น�าศาสนา ซึ่งบังเอิญเป็นคนอีกรุ่นหนึ่งจึงไม่สามารถที่จะพูดคุยในเรื่องแนวคิดและ
วิธีการกันได้โดยง่าย... ข้อดีของอิสลามคือ เปิดให้มีการตีความที่หลากหลาย แต่ในขณะเดียวกันเมื่อมีเรื่องวัฒนธรรม
เข้ามาเกี่ยวข้อง หมายถึง สภาพแวดล้อมที่เราเติบโตขึ้นมาเป็นแบบใดการตีความก็มาจากสภาพแวดล้อมหรือ
วัฒนธรรมที่หล่อหลอมมา จึงปฏิเสธไม่ได้ที่จะเกิดการตีความศาสนาอิสลามแบบอื่นที่ไม่เหมือนกับแบบของ ดร.สุชาติ
พยายามที่จะบอกเรา เป็นความคิดที่จะต้องต่อสู้กัน ดังนั้นจะท�าอย่างไรที่จะเผยแพร่ความคิดเรื่องการวิพากษ์
ทบทวนการตีความค�าสอนในศาสนาที่มีอยู่ให้ขยายออกไป และท้าทายชุดความคิดที่มีอยู่ในสังคมโดยเฉพาะ
๒๖ การสัมมนา “แนวปฏิบัติเพื่อส่งเสริมการเข้าถึงความยุติธรรมของผู้หญิงมุสลิมจังหวัดชายแดนภาคใต้ วันที่ ๑๓ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐ ที่กรุงเทพมหานคร
ข้อเสนอแนะ การเข้าถึงความยุติธรรมของผู้หญิงมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ 47