Page 65 - ข้อเสนอแนะการเข้าถึงความยุติธรรมของผู้หญิงมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้
P. 65
ความเห็นทั่วไปจากผู้เข้าร่วมประชุม
• กรณีการละเมิดสิทธิต่างๆ ที่เกิดขึ้นทั้งในเรื่องความรุนแรงต่อผู้หญิงมุสลิมหรือประเด็นสิทธิมนุษยชน
อื่นๆ เป็นปัญหาในเรื่องโครงสร้างเชิงอ�านาจในแต่ละระดับในสังคม และเป็นแรงกระตุ้นหรือท�าให้เกิดกรณีการละเมิดสิทธิ
ต่างๆ เช่น อ�านาจในฐานะผู้บังคับบัญชาต่อผู้ใต้บังคับบัญชา อ�านาจทางเศรษฐกิจ อ�านาจในฐานะผู้น�าชุมชน หรือ
อ�านาจของผู้น�าศาสนา ฯลฯ
• ผู้เสียหายเข้าไม่ถึงกลไกเพื่อความยุติธรรมของรัฐ เรื่องความรุนแรงต่อผู้หญิงส่วนมากมักจบลงที่การ
ไกล่เกลี่ย เนื่องจากฝ่ายผู้เสียหายอาจเกรงกลัวอิทธิพลของฝ่ายผู้กระท�าหรือไม่อยากให้เป็นเรื่องเป็นราว จึงไม่แจ้ง
ความเนื่องจากความอับอาย หรือเจ้าหน้าที่อาจไม่มีความเข้าใจในมิติความอ่อนไหวทางเพศสภาพและมองว่าเป็นเรื่อง
ของครอบครัว ไม่ใช่เรื่องร้ายแรงจึงให้ชุมชนจัดการกันเอง ท�าให้ไม่มีการแจ้งความ ไม่มีการลงบันทึกประจ�าวัน และ
ไม่ส่งเรื่องต่อไปให้คณะกรรมการกลางอิสลามประจ�าจังหวัด ที่ผ่านมาผู้หญิงพยายามเรียกร้องขอมีบทบาทใน
คณะกรรมการอิสลามประจ�าจังหวัด เพื่อการมีส่วนร่วมในการให้ความเห็นและร่วมพิจารณาปัญหาเกี่ยวกับครอบครัว
โดยเฉพาะอย่างยิ่งความรุนแรง แต่ยังไม่ได้รับการตอบรับ
• ผู้หญิงมุสลิมมักคิดว่าเรื่องศาสนาเป็นเรื่องของผู้ชาย ทั้งๆ ที่ศาสนาเป็นเรื่องของทุกคน มีโรงเรียนสอน
ศาสนาอยู่มากมาย แต่ผู้หญิงได้เรียนรู้หลักศาสนาอิสลามและปฏิบัติตามประเพณีที่สืบทอดกันมาแบบท่องจ�าโดยไม่
เข้าใจหลักการศาสนาอย่างลึกซึ้ง จึงท�าให้ไม่สามารถน�าไปสู่การปฏิบัติได้อย่างถูกต้องในชีวิตประจ�าวัน ความท้าทาย
คือ ระบบการเรียนการสอนด้านศาสนาในท้องถิ่นยังไม่มีการปรับตัวทั้งในเชิงเนื้อหาและการจัดกระบวนการเรียน
การสอนให้สอดคล้องกับประเด็นปัญหาเฉพาะของผู้หญิง
• กลุ่มผู้หญิงมุสลิมต้องการรู้เรื่องหลักอิสลามเพิ่มเติมให้มีความรู้ความสามารถและทักษะเพียงพอในการ
ตีความศาสนา หรือวิเคราะห์ได้ว่าสิ่งใดคือกฎระเบียบที่ผู้น�าในชุมชนสร้างขึ้นมาเอง (กฎชุมชน) และสิ่งใดคือ
หลักศาสนา ท�าให้ไม่สามารถตั้งค�าถามหรือโต้แย้งข้อกล่าวอ้างต่างๆ ที่ถูกก�าหนดเพื่อรองรับความชอบธรรมใน
การเลือกปฏิบัติต่อผู้หญิง หรือน�าเสนอความเห็นที่แตกต่างของตนเองต่อผู้ชายและผู้ปกครองได้อย่างสันติและได้รับ
ความเข้าใจ ทั้งนี้ ผู้เกี่ยวข้องต้องช่วยให้ผู้หญิงสามารถขจัดความกลัว ความไม่มั่นใจในความรู้ รวมทั้งต้องจัดการ
ความคิดของชุมชนมุสลิมที่ว่า ผู้หญิงไม่จ�าเป็นต้องมีความรู้ทางศาสนาเพื่อให้มีความสามารถในการตีความศาสนา
เทียบเท่าผู้ชาย ประเด็นส�าคัญที่ควรให้ความส�าคัญ คือ ผู้หญิงในชุมชนมีความแตกต่างกันทั้งสถานภาพทางเศรษฐกิจ
และสังคม ท�าให้ผู้หญิงมีโอกาส มีส่วนร่วม และได้รับประโยชน์ในชุมชนไม่เท่ากัน จึงควรให้มีการส่งเสริมศักยภาพ
ให้ผู้หญิงทุกคนมีความรู้ และเข้าถึงโอกาสในการมีส่วนร่วมอย่างเท่าเทียมกันโดยไม่มีการเลือกปฏิบัติด้วยเหตุผลทาง
เศรษฐกิจหรือสถานะทางสังคม
• ปัจจุบันผู้หญิงมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ยังไม่สามารถเข้าถึงความยุติธรรมตามที่รับรองในหลักการ
ศาสนาอิสลาม หรือรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย หรืออนุสัญญาระหว่างประเทศฉบับต่างๆ ที่ประเทศไทยเป็น
ภาคีอย่างที่ควรจะเป็น ทั้งนี้ ไม่ใช่เป็นเพราะไม่มีกฎหมายคุ้มครอง เพราะช่องทางในการเข้าถึงความยุติธรรมมีหลาย
ช่องทาง เช่น ผ่านกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ โดยยุติธรรมชุมชน สภาทนายความ ศูนย์ด�ารงธรรม ฯลฯ แต่ที่ยัง
เข้าถึงความยุติธรรมไม่ได้ เนื่องจากชุมชนอิสลามใช้กฎชุมชนเป็นใหญ่ หากผู้เสียหายใช้ช่องทางของภาครัฐข้างต้น
เมื่อกลับมาที่ชุมชนมักถูกต่อต้านจนท�าให้อยู่ในชุมชนไม่ได้ ผู้ที่รู้หลักศาสนาอย่างแท้จริงอย่างที่ได้รับความรู้จาก
วิทยากรก็มักถูกต่อต้านจนอยู่ในชุมชนไม่ได้ ในขณะที่ผู้หญิงที่ไม่มีความรู้ทางศาสนาก็จะถูกละเมิดต่อไป
คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยจะท�าอย่างไรที่จะท�าให้ชุมชนได้รับรู้ความรู้เช่นเดียวกับที่ผู้เข้าร่วม
โครงการนี้ได้รับ
54 ข้อเสนอแนะ การเข้าถึงความยุติธรรมของผู้หญิงมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้