Page 64 - ข้อเสนอแนะการเข้าถึงความยุติธรรมของผู้หญิงมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้
P. 64

การพัฒนาข้อเสนอของผู้หญิงมุสลิมเป็นแนวปฏิบัติเพื่อคุ้มครองผู้หญิงและเด็กหญิง :

               ภารกิจต่อไปของหน่วยงานภาครัฐและองค์กรศาสนา




               อังคณา นีละไพจิตร     ๓๑

               กรรมกำรสิทธิมนุษยชนแห่งชำติ ชุดที่ ๓
               ประธำนอนุกรรมกำรด้ำนสิทธิสตรีและควำมเสมอภำคทำงเพศสภำพ



                                                          “ในระยะแรกที่ได้พูดคุยกับกลุ่มผู้หญิง ดิฉันพบว่าผู้หญิงมุสลิม
                                                 ใน  จชต.  ต้องเผชิญกับปัญหาที่ซับซ้อนมากมายภายใต้เหตุการณ์

                                                 ความไม่สงบที่เกิดขึ้นยาวนานกว่าสิบปี ผู้หญิงหลายคนยังต้องเผชิญ
                                                 กับปัญหาความรุนแรงในครอบครัว ความรุนแรงทางเพศ รวมถึงปัญหาทาง

                                                 เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม และความยากจน นอกจากนั้นการที่ผู้หญิง
                                                 ส่วนมากในชนบทเป็นผู้ที่มีการศึกษาน้อยทั้งการศึกษาด้านศาสนาและการ
                                                 ศึกษาทั่วไป ท�าให้ผู้หญิงไม่สามารถน�าปัญหาที่เกิดขึ้นไปหารือกับหน่วยงาน

                                                 ที่เกี่ยวข้องรวมถึงองค์กรศาสนาเพื่อแก้ไขได้ ท�าให้ผู้หญิงหลายคนมีความรู้สึก
                                                 ไม่ปลอดภัยในการด�าเนินชีวิต หลายคนมีชีวิตอยู่บนความหวาดกลัว และมี

               บางคนที่ต้องการจบชีวิตตนเองเพื่อยุติปัญหานั้น
                      ในฐานะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ดิฉันให้ความส�าคัญกับเรื่องการเข้าถึงความยุติธรรมของผู้หญิงมาก
               เนื่องจากการเข้าถึงความยุติธรรมของผู้หญิงเป็นก้าวย่างส�าคัญในการรับประกันว่าผู้หญิงทุกคนจะได้รับสิทธิของตน

               ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และตามหลักการศาสนาอิสลามที่ให้ความคุ้มครองและรับรองสิทธิและ
               ความเสมอภาคของหญิงและชาย เพื่อน�าไปสู่การปรับปรุงกฎหมาย ระเบียบ หรือค�าสั่งต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และเพื่อให้

               เกิดกลไกการคุ้มครองอย่างแท้จริง โดยให้ผู้กระท�าผิดต้องรับโทษตามกฎหมาย และให้ผู้เสียหายได้รับการฟื้นฟู
               เยียวยา และได้รับการชดใช้ต่อความเสียที่เกิดขึ้นทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ
                      การร่วมมือกันขององค์กรศาสนา คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ รวมถึงหน่วยงานและองค์กร

               ด้านการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของผู้หญิงในความพยายามหาแนวทางปฏิบัติเพื่อแก้ปัญหาอุปสรรคการเข้าถึง
               ความยุติธรรมของผู้หญิงจึงมีความส�าคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากระบบกฎหมายและระบบยุติธรรมเป็นรากฐานส�าคัญ

               ของสังคม กรณีที่กฎหมายและระบบยุติธรรมเป็นมิตรกับผู้หญิง และเอื้อประโยชน์ในการคุ้มครองผู้หญิงย่อมจะเป็น
               ส่วนส�าคัญในการสร้างพื้นฐานความเข้มแข็งในแง่มุมต่างๆ ของชีวิตผู้หญิง และจะน�าไปสู่การเคารพศักดิ์ศรีและ
               ความเสมอภาครวมถึงจะน�าไปสู่การมีส่วนร่วมในการพัฒนา และการตัดสินใจร่วมกันของหญิงและชายในทุกมิติ

                      ดิฉันหวังอย่างยิ่งว่าทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจะน�าข้อเสนอของผู้หญิงมุสลิมไปพัฒนาเป็นแนวปฏิบัติ เพื่อสร้างกลไก
               การคุ้มครองผู้หญิงและเด็กหญิงให้เกิดขึ้นจริงในสังคมต่อไป”







               ๓๑  การสัมมนา “แนวปฏิบัติเพื่อส่งเสริมการเข้าถึงความยุติธรรมของผู้หญิงมุสลิมจังหวัดชายแดนภาคใต้ วันที่ ๑๓ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐ ที่กรุงเทพมหานคร





                                                  ข้อเสนอแนะ การเข้าถึงความยุติธรรมของผู้หญิงมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้  53
   59   60   61   62   63   64   65   66   67   68   69