Page 66 - ข้อเสนอแนะการเข้าถึงความยุติธรรมของผู้หญิงมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้
P. 66

•  การท�างานกับกลุ่มเป้าหมายทั้งหญิงและชายในชนชั้นต่างๆ ในสังคมมุสลิมในเรื่องความเป็นหญิง
               ความเป็นชายหรือสิทธิมนุษยชนของผู้หญิง กลุ่มเป้าหมายเหล่านี้อาจเข้าใจถึงประเด็นสิทธิมนุษยชนได้ไม่เท่ากัน
               เพราะแนวคิดสิทธิมนุษยชนสากลและหลักการอิสลามเชิงอนุรักษ์มีการอธิบายค�าศัพท์ต่างๆ เช่น สิทฺธิ ความเท่าเทียม

               ระบบชายเป็นใหญ่ ผู้น�า อย่างแตกต่างกันมาก ด้วยเหตุที่กลุ่มเป้าหมายมีเจตคติและประสบการณ์หลากหลาย
               แตกต่างกัน ท�าอย่างไรจะให้เจตคติของทั้งสองแนวอยู่บนระนาบเดียวกันได้ เพื่อไม่ท�าให้ความตั้งใจดีๆ เป็นสิ่ง
               แปลกปลอมของพื้นที่ และท�าอย่างไรให้ผู้รู้ทางศาสนาและผู้น�าชุมชนให้ความร่วมมือในการเรียนรู้ของกลุ่มเป้าหมาย
               ในพื้นที่ต่อไป




                      •  ขอให้ ศอ.บต. เป็นหน่วยงานหลักในการจัดอบรมหลักศาสนา หลักสิทธิมนุษยชนที่สอดคล้องกับ
               หลักอิสลาม กฎหมายและการบังคับใช้ แก่ผู้น�าศาสนา ผู้ปกครอง และผู้น�าชุมชน และเจ้าหน้าที่ เพื่อให้มีความเข้าใจ
               ในสาระส�าคัญของหัวข้อดังกล่าวตรงกัน  ควรมีข้อมูลสถานการณ์เกี่ยวกับผู้หญิงมุสลิม และคู่มือที่เข้าใจง่าย และคน
               ทุกกลุ่มสามารถเข้าถึงง่าย และควรมีการศึกษาและประเมินผลว่าผู้มีอ�านาจในท้องถิ่นน�าหลักศาสนาอิสลามมาใช้
               อย่างถูกต้องมากน้อยเพียงใด



                      •  ควรมี Hotline Center ส�าหรับให้ค�าแนะน�าแก่ผู้ที่ถูกกระท�าความรุนแรง และสร้างเครือข่ายผู้ได้รับ
               ผลกระทบจากความรุนแรงเพื่อช่วยเหลือและสร้างความเข้มแข็งซึ่งกันและกัน รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการให้

               บริการผู้เสียหายในทุกด้าน ทั้งกระบวนการยุติธรรม การบริการสนับสนุนเรื่องสุขภาพ และการช่วยเหลือเยียวยาควร
               มีความละเอียดอ่อน โดยให้ความส�าคัญกับความอับอาย ความหวาดกลัว ความบอบช�้าทางจิตใจของผู้เสียหายในทุก
               ขั้นตอนด้วย เพื่อให้ผู้ถูกกระท�าไม่รู้สึกด้อยคุณค่าและสูญเสียศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์



                      •  กรรมการอิสลามระดับชุมชนและจังหวัดควรมีกระบวนการสอบสวนกรณีการล่วงละเมิดทางเพศหรือ
               ความรุนแรงต่อผู้หญิงที่เป็นอิสระไม่ขึ้นอยู่กับกระแสความต้องการของชุมชน แต่ควรมีกระบวนการที่ค�านึงถึง

               ความละเอียดอ่อนทางเพศสภาพ และความรู้สึก ความหวาดกลัวของผู้หญิง ไม่กระท�าการใดๆ ที่เป็นการละเมิดซ�้า
               ควรมีการประสานการท�างานกับสหวิชาชีพด้วย เพื่อให้มีองค์ประกอบที่หลากหลาย เช่น นักจิตวิทยา แพทย์
               นักกฎหมายที่มีความเข้าใจมิติเกี่ยวกับเพศสภาพ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ตรงกับความเป็นจริงและผู้เสียหายกล้าที่จะพูด
               เรื่องที่เกิดขึ้น



                      •  ที่ผ่านมาผู้หญิงมีความพยายามเจรจาขอให้มีสัดส่วนผู้หญิงที่ท�างานด้านสิทธิมนุษยชนของผู้หญิงเพื่อให้
               ค�าปรึกษาในส�านักงานคณะกรรมการอิสลามประจ�าจังหวัด แต่ก็ไม่ได้รับอนุญาตจากบรรดาผู้น�าศาสนาหรือกรรมการ

               อิสลาม มีเพียงบางกรณีที่เกี่ยวกับความรุนแรงในครอบครัวหรือความรุนแรงทางเพศที่ญาติร้องขอให้มีผู้หญิงเป็น
               ผู้ร่วมสอบสวน กรรมการอิสลามบางจังหวัดก็อาจจะให้ภรรยาของตนท�าหน้าที่แทน



                      •  คณะกรรมการอิสลามในแต่ละจังหวัดยังไม่มีความเป็นเอกภาพในการตัดสินข้อพิพาทในครอบครัว
               กล่าวคือ คณะกรรมการอิสลามประจ�าจังหวัดแต่ละจังหวัดมีการใช้ดุลยพินิจและแนวปฏิบัติที่แตกต่างกัน เช่น
               การก�าหนดเงื่อนไขก่อนแต่งงาน (ตาเละห์) หรือสิทธิในการหย่าและการจัดการทรัพย์สิน ซึ่งบางแห่งก�าหนดให้มี

               ในขณะที่บางแห่งไม่ได้ก�าหนด ท�าให้ปัญหาอย่างเดียวกันแต่มีการตัดสินที่แตกต่างกัน







                                                  ข้อเสนอแนะ การเข้าถึงความยุติธรรมของผู้หญิงมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้  55
   61   62   63   64   65   66   67   68   69   70   71