Page 53 - ข้อเสนอแนะการเข้าถึงความยุติธรรมของผู้หญิงมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้
P. 53
ช่องว่างในการเข้าถึงความยุติธรรมของผู้หญิงที่ถูกกระท�าความรุนแรง
“ผู้หญิงไม่รู้สิทธิ ไม่รู้ว่ามีกฎหมายคุ้มครองความรุนแรงในครอบครัว ผู้หญิงไม่กล้าเอาผิดกับสามีเพราะกลัวบาป
จึงเลือกที่จะไม่ไปแจ้งความหรือเล่าเรื่องให้กับผู้อื่นฟัง ผู้หญิงไม่มีความรู้ในเรื่องศาสนา และผู้ชายจึงเป็นบุคคลที่จะสอน
และเชื่อตามที่ผู้ชายสอนว่า สามีมีสิทธิทุบตีเพื่อสั่งสอนได้ เพราะผู้หญิงท�าตัวไม่ดี
ผู้หญิงจ�ายอมต้องตกอยู่ในสภาพที่ถูกกระท�า รู้สึกว่าตนเองสมควรแล้วที่จะถูกทุบตีเพราะเราท�าตัวไม่ดี
ผู้หญิงกลุ่มพม่าที่เป็นมุสลิมในพื้นที่แม่สอดส่วนใหญ่อยู่ในสถานะหลบหนีเข้าเมือง เมื่อเกิดเหตุขึ้นจึงไม่กล้าไปร้องทุกข์
หรือแม้แต่จะไปโรงพยาบาลเพื่อรักษาอาการบาดเจ็บ อีกทั้งยังยากจนไม่มีค่ารถและสื่อสารภาษาไทยไม่ได้
บางครั้งผู้หญิงรวบรวมความกล้าไปแจ้งความร้องทุกข์ต่อเจ้าหน้าที่ต�ารวจ แต่เจ้าหน้าที่ต�ารวจยังคงมีความเข้าใจ
ผิดว่า หากเป็นเรื่องในครอบครัวต้องใช้หลักอิสลามไปจัดการกันเอง ต�ารวจไม่สามารถช่วยเหลือได้และไม่รับแจ้งความ
กรณีความรุนแรงในครอบครัวของคนมุสลิม อีกทั้งในพื้นที่แม่สอดยังไม่มีพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายคุ้มครองผู้ถูก
กระท�าด้วยความรุนแรงในครอบครัว และไม่สะดวกที่จะเดินทางไปแจ้งที่อ�าเภอเมืองเนื่องจากมีภูเขาคั่นกลาง จากช่อง
ว่างดังกล่าวท�าให้ผู้หญิงไม่สามารถหย่าร้างได้ และถูกกดดันให้เป็นฝ่ายที่ต้องให้อภัยสามี”
แนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกันกับผู้น�าศาสนา
“มูลนิธิผู้หญิงได้เชิญผู้น�าศาสนาทั้งในส่วนคณะกรรมการกลางอิสลามจังหวัดตาก และผู้น�าศาสนาซึ่งเป็น
ชาวพม่าที่ได้รับการยอมรับนับถือในชุมชนร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนสถานการณ์และวิเคราะห์ปัญหาร่วมกัน เพื่อระดม
ความเห็นต่อแนวทางในการช่วยเหลือผู้หญิงและเด็กที่ถูกกระท�ารุนแรงในครอบครัว โดยมี ผศ.ดร. สุชาติ เศรษฐมาลินี
มาเป็นวิทยากรให้ความรู้เกี่ยวกับสิทธิผู้หญิงตามหลักอิสลาม เพื่อจะสร้างความเข้าใจให้ตรงกันว่า หลักการอิลามไม่ได้
ขัดกับกฎหมายไทยในเรื่องการคุ้มครองผู้ถูกกระท�าความรุนแรง
ผลจากการหารือร่วมกัน ผู้น�าศาสนาได้เห็นชอบที่จะใช้มาตรการจากเบาไปหาหนัก จาก เยี่ยมบ้าน ตักเตือน
ก�าหนดเงื่อนไขหากมีการกระท�าซ�้า จนถึงจัดให้ผู้หญิงร้องทุกข์ ด�าเนินคดีตามกฎหมายกับสามีที่ใช้ความรุนแรง
จนถึงที่สุดหากเกินกว่าจะตักเตือน และจัดให้ผู้หญิงร้องขอคุ้มครองสวัสดิภาพตาม พรบ.คุ้มครองผู้ถูกกระท�า
ด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ.๒๕๕๐
เมื่อเร็วๆ นี้ ศาลได้มีค�าสั่งคุ้มครองสวัสดิภาพไม่ให้ผู้ชายเข้าใกล้หรือเข้ามาคุกคาม ห้ามไม่ให้ดื่มสุรา เพื่อที่
จะควบคุมไม่ให้มีความเสี่ยงในการท�าร้ายผู้หญิงอีก ค�าสั่งมีก�าหนดระยะเวลา ๖ เดือน หากฝ่าฝืนมีโทษจ�าคุกครั้งละ
๑ เดือน”
42 ข้อเสนอแนะ การเข้าถึงความยุติธรรมของผู้หญิงมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้