Page 52 - ข้อเสนอแนะการเข้าถึงความยุติธรรมของผู้หญิงมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้
P. 52
๔) ตัวอย่างประสบการณ์ความร่วมมือระหว่างองค์กรศาสนากับภาคประชาสังคม ปัญหาและความคืบหน้า
ในการด�าเนินการของภาครัฐ
ในการสัมมนาเรื่อง “แนวปฏิบัติเพื่อส่งเสริมการเข้าถึงความยุติธรรมของผู้หญิงมุสลิมจังหวัดชายแดน
ภาคใต้ เมื่อวันที่ ๑๓ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐ ซึ่ง กสม. และองค์กรเครือข่ายร่วมกันจัดขึ้น เพื่อสร้างความเข้าใจและ
แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการอ�านวยความยุติธรรมและการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของผู้หญิงแก่นักวิชาการ
ศาสนาและผู้น�าศาสนา นั้น ผู้เข้าร่วมการสัมมนาได้ให้ความเห็นต่อข้อเสนอแนะของผู้หญิงมุสลิมในการส่งเสริม
การเข้าถึงความยุติธรรมของผู้หญิงในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมถึงข้อมูลในสิ่งที่หน่วยงานรัฐก�าลังด�าเนินการ
ตามค�ามั่น และแผนการด�าเนินงานของหน่วยงานในเรื่องนี้ ดังนี้
ความร่วมมือขององค์กรผู้หญิงกับผู้น�าศาสนา
ดาราราย รักษาสิริพงศ์
ผู้รับผิดชอบ “โครงกำรจัดท�ำแนวปฏิบัติในกำรคุ้มครองผู้หญิง
ที่ประสบปัญหำควำมรุนแรงในครอบครัวในชุมชนอิสลำม”
ศูนย์ประสำนงำนพื้นที่อ�ำเภอแม่สอด มูลนิธิผู้หญิง
“พื้นที่แม่สอดเป็นพื้นที่ติดกับชายแดนพม่า มีความหลากหลาย
ของชาติพันธุ์ ทั้งกลุ่มคนไทยมุสลิมที่อยู่มาแต่เดิม คนมุสลิมที่อพยพย้ายถิ่น
เข้ามาจากพม่า และคนมุสลิมที่อยู่ในค่ายผู้ลี้ภัยบริเวณชายแดน ปัญหาของ
ผู้หญิงมุสลิมไม่เกิดขึ้นเฉพาะในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้เท่านั้นแต่
เกิดขึ้นที่แม่สอดด้วย ปัญหาของผู้หญิงมุสลิมในพื้นที่อ�าเภอแม่สอดที่พบ เช่น
๑) เด็กหญิงอายุ ๑๕ ปี ถูกเพื่อนชายฉุดไปข่มขืนและถูกลักพา
ไปบังคับแต่งงานโดยที่ครอบครัวฝ่ายหญิงไม่ได้รับรู้ด้วย ฝ่ายชายจัดงาน
แต่งงานเพื่อให้รู้สึกว่าได้พ้นผิดและแสดงให้คนอื่นเห็นว่าได้รับผิดชอบแล้ว
เมื่อพากลับมาอยู่กินกันในพื้นที่แม่สอดมีการใช้ความรุนแรงและฝ่ายชาย
ไม่รับผิดชอบเลี้ยงดูลูก ผู้หญิงท�าเรื่องขอหย่าแต่เรื่องยังไม่เสร็จสิ้น
๒) ผู้หญิงถูกสามีท�าร้าย ทอดทิ้ง ไม่ส่งเสียเลี้ยงดูลูก เพื่อนบ้านรู้เห็นแต่ก็ไม่กล้าห้าม เพราะเกรงว่าสามี
อาจเกี่ยวข้องกับยาเสพติด เพื่อนบ้านและคนในชุมชนมักหลีกเลี่ยงไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวท�าให้ผู้หญิงไม่มีทางเลือก ไม่มีที่ไป
เมื่อเกิดเหตุก็หนีออกจากบ้านเป็นประจ�า แต่ก็ต้องกลับมาทุกครั้งเพราะตนเองไม่มีทางไป เหตุผลที่มักน�ามาเป็น
ข้ออ้างในการท�าร้าย คือ ผู้หญิงประพฤติไม่ดี เล่นการพนัน คบชู้
๓) ผู้น�าศาสนาแต่ละคนใช้ดุลพินิจแตกต่างกันในการอนุญาตให้หย่าหรือไม่อนุญาตให้หย่า บางกรณีผู้หญิง
สามารถหย่าได้แต่ต้องจ่ายเงินเพื่อแลกกับการให้ผู้ชายยอมหย่า หากผู้หญิงไม่มีเงินหรือไปปรึกษากับผู้น�าที่ต้องการ
ให้ไกล่เกลี่ย ก็จะท�าให้ไม่สามารถหย่าได้ และต้องถูกกระท�าความรุนแรงซ�้าเป็นเวลายาวนาน ท�าให้ได้รับผลกระทบ
ทั้งด้านร่างกายและจิตใจ
ข้อเสนอแนะ การเข้าถึงความยุติธรรมของผู้หญิงมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ 41