Page 49 - ข้อเสนอแนะการเข้าถึงความยุติธรรมของผู้หญิงมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้
P. 49

กิตติ สุระค�าแหง

              ผู้อ�ำนวยกำรส�ำนักบริหำรงำนยุติธรรม ศูนย์อ�ำนวยกำรบริหำรจังหวัดชำยแดนภำคใต้


                                                         “ในมุมมองของผม ความรุนแรงที่เกิดขึ้นน่าจะเกิดในมุมมืดของ

                                               สังคมในมุมใดมุมหนึ่ง วิธีคิดแบบนั้นเป็นข้อยกเว้น ไม่ใช่หลักการ ผมยังเชื่อมั่น
                                               ในหลักการศาสนาอิสลามที่ถูกต้องเช่นเดียวกับ ผศ. ดร. สุชาติ เศรษฐมาลินี
                                               เชื่อในวิถีของมุสลิม ผมยังเชื่อมั่นในผู้น�าศาสนาหลายๆ ท่านในพื้นที่ ผมจึง

                                               คิดว่าสิ่งที่เกิดขึ้นถูกเก็บกดไว้ในมุมใดมุมหนึ่ง ผู้ได้รับผลกระทบจะก้าวข้าม
                                               สิ่งที่เป็นข้อจ�ากัดอย่างไร ปัญหาต่างๆ ถูกเก็บกดไว้ ผู้อ�านวยการ ศอ.บต.

                                               มีนโยบายชัดเจนในการก้าวข้ามขวากหนามไปสู่กระบวนการยุติธรรม
                                                         ข้อเสนอที่ให้พิจารณานั้น เชื่อว่าตรงใจท่านเลขาธิการ ศอ.บต.
                                               มีบางข้อที่ท�าอยู่แล้วแต่ยังไม่ได้หยิบยกขึ้นมาให้เป็นรูปธรรม กิจกรรม

              ต่อไปนี้จะเป็นสะพานให้ผู้หญิงมุสลิมก้าวข้ามข้อจ�ากัดและฝ่าฟันให้พ้นขวากหนามได้อย่างไร ๑) จัดตั้งศูนย์อ�านวย
              ความเป็นธรรมระดับต�าบล ๓๐๐ กว่าต�าบล พร้อมรับเรื่องร้องเรียนร้องทุกข์ มีผู้หญิงปฏิบัติหน้าที่ด้วย ๒) จะมี

              เครือข่ายในการท�างานร่วมกับศูนย์ยุติธรรมชุมชน โดยมีนิติกรประจ�าอ�าเภอ ๔๐ กว่าคน ซึ่งเป็นผู้หญิง ๓๐ กว่า
              คน จะจัดให้มีนิติกรประจ�าศาล เรือนจ�าและคณะกรรมการอิสลามประจ�าจังหวัด เพื่อรับฟังเรื่องร้องทุกข์
              ร้องเรียน ๓) มีสายด่วน ๑๘๘๐ จัดให้มีคน ๑๔ คนมานั่งรับเรื่องร้องเรียน ตลอด ๒๔ ชั่วโมง โดยจะมีกลไก

              ในการช่วยเหลือโดยทันที ๔) ได้สนับสนุนงบประมาณให้ส�านักงานกลางอิสลามสร้างศูนย์ไกล่เกลี่ยปัญหาอิสลาม
              ในสามจังหวัด ๔ ล้านบาทเพื่อสร้างบรรยากาศให้เอื้อต่อการแก้ปัญหา ๕) มีการตั้งมหาวิทยาลัยอิหม่ามเพื่อเป็น

              เวทีให้ผู้น�าศาสนารุ่นใหม่และรุ่นเก่ามาพูดคุยทบทวนเรื่องสิทธิมนุษยชนและอนุสัญญาต่างๆ ให้หน่วยงานต่างๆ
              และผู้น�าศาสนาได้รับรู้และเรียนรู้อย่างบูรณาการ ๖) มีกลไกจัดการเจ้าหน้าที่รัฐที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม เช่น
              ท�าผิดกฎหมาย ท�าผิดจรรยาบรรณ ไม่เข้าใจและไม่ยอมท�าความเข้าใจ”



              ภานุ อุทัยรัตน์

              เลขำธิกำรศูนย์อ�ำนวยกำรบริหำรจังหวัดชำยแดนภำคใต้


                                                         “ขอเพิ่มเติมว่า ศอ.บต. มีนิติกรประจ�าศาลและเรือนจ�าในการ
                                               ให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชนอยู่แล้ว แต่จะเพิ่มอัตราก�าลัง

                                               ให้ส�านักงานคณะกรรมการอิสลามประจ�าจังหวัด ๕ พื้นที่ เพื่อให้ผู้หญิง
                                               ที่มีปัญหาเรื่องครอบครัวมีความอบอุ่นใจมากขึ้น นอกจากนี้จะมีการ

                                               แต่งตั้งผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายสตรีอีก ๑๙๘๒ แห่ง เพื่อให้บทบาทสตรีมี
                                               ความชัดเจนมากขึ้นและเพื่อสร้างความอุ่นใจให้พี่น้องสตรีในสามจังหวัด”













                38     ข้อเสนอแนะ การเข้าถึงความยุติธรรมของผู้หญิงมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้
   44   45   46   47   48   49   50   51   52   53   54