Page 50 - ข้อเสนอแนะการเข้าถึงความยุติธรรมของผู้หญิงมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้
P. 50

พล.ต.ชวลิต เรียนแจ้ง

               ผู้อ�ำนวยกำรส�ำนักบังคับใช้กฎหมำยและสิทธิมนุษยชน
               ผู้แทนกองอ�ำนวยกำรรักษำควำมมั่นคงภำยในภำค ๔ ส่วนหน้ำ


                                                          “...กฎหมายที่ผมรับผิดชอบเป็นกฎหมายพิเศษ ๓ ฉบับ เพื่อ
                                                 ควบคุมไม่ให้เจ้าหน้าที่ละเมิดสิทธิหรือใช้กฎหมายเกินขอบเขต ได้แก่

                                                 กฎอัยการศึก พ.ศ. ๒๔๕๗ พระราชบัญญัติสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘
                                                 และพระราชบัญญัติความมั่นคง พ.ศ. ๒๕๕๑  ส่วนใหญ่ผมรับผิดชอบ
                                                 งานการเมืองและดูแลรับเรื่องร้องเรียนกรณีเจ้าหน้าที่ไปละเมิดสิทธิจากการ
                                                 ใช้กฎหมายพิเศษ รวมทั้งรับผิดชอบเรื่องพาคนกลับบ้าน พาคนหลบหนีกลับ
                                                 มาสู้คดี ที่ผ่านมาจึงได้คลุกคลีกับกลุ่มสตรีค่อนข้างมากเพื่อหาทางเข้าถึง

                                                 สตรีที่ได้รับผลกระทบจากความขัดแย้ง เช่น คดีครูจูหลิงในปี พ.ศ. ๒๕๔๙
                                                 ที่บ้านกูจิงลือปะ นราธิวาส มีสตรีที่ถูกหมายจับ ๔๐ คน บางส่วนมอบตัว
                                                 บางส่วนยังหลบหนีอยู่ โดยเชิญกลุ่มสตรีภาคใต้มาพบปะสะท้อนปัญหา
               ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ ได้แก่ ปัญหาสิทธิมนุษยชน การประกอบอาชีพ ยาเสพติดการดูแลลูก สิทธิที่ไม่เสมอภาคกันของ
               หญิงชาย ให้ความช่วยเหลืออ�านวยความสะดวกในการประกันตัวส�าหรับผู้ถูกหมายจับ การจัดหาทนายต่อสู้คดีให้
                      ส�าหรับงานด้านการคุ้มครองสตรีโดยเฉพาะจะอยู่ในความรับผิดชอบของ ศอ.บต. และกระทรวงยุติธรรม

               เป็นหลัก เห็นด้วยกับการส่งเสริมบทบาทสตรี ปัญหาในสามจังหวัดชายแดนใต้นั้น ถ้าให้ผู้หญิงน�าปัญหาความขัดแย้ง
               จะจบแน่นอน เห็นด้วยกับพลเอกสนธิ บุญญรัตกริน อดีตผู้บัญชาการทหารบกที่ว่าภาคใต้ต้องให้ผู้หญิงน�า”


               ดนัย มู่สา

               ผู้อ�ำนวยกำรส�ำนักยุทธศำสตร์ควำมมั่นคงจังหวัดชำยแดนภำคใต้และชนต่ำงวัฒนธรรม
               ผู้แทนส�ำนักงำนควำมมั่นคงแห่งชำติ


                                                          “ขณะนี้ สภาความมั่นคงแห่งชาติก�าลังจัดท�าร่างนโยบาย
                                                 การบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. ๒๕๕๘-๒๕๖๐ จะเป็น
                                                 ตัวเปิดในการแก้ปัญหาชายแดนภาคใต้ในทุกมิติ จะพูดถึงประเด็นปัญหา
                                                 ของสตรีและเยาวชนเพิ่มขึ้นอีก ๑ ย่อหน้า จากเดิมมีเพียง ๑ ประโยค เพื่อ

                                                 ให้เห็นความสัมพันธ์ของความรุนแรงทางกายภาพ โครงสร้าง และวัฒนธรรม
                                                 ที่ต้องถูกครอบด้วยความรุนแรงจากความชัดแย้ง เป็นเรื่องส�าคัญมาก
                                                 จะลงพื้นที่กลางเดือนหรือปลายเดือนนี้ ให้ประชาชนสามจังหวัดช่วยดูร่าง
                                                 ที่เสนอว่ามันดีหรือไม่อย่างไร

                                                          ในเรื่องแนวปฏิบัติ มีข้อเสนอแนะให้ระบุว่ากลไกศาสนามีอะไร
                                                 บ้าง กลไกรัฐมีอะไรบ้างที่เกี่ยวข้อง และควรระบุกลไกด้านนโยบายที่จะ
                                                 แสดงให้เห็นเจตนารมณ์ทางการเมืองที่จะแก้ปัญหาความขัดแย้ง
                                                 ในภาคใต้ด้วย และให้กลไกเหล่านี้เข้ามามีส่วนร่วม รวมถึงน่าจะต้องมีการ
               เอากระทรวงวัฒนธรรมและกระทรวงมหาดไทยเข้ามาร่วมด้วย นอกจากนี้ยังมีประเด็นการส่งเสริมผู้หญิงให้มีบทบาท
               ในการตัดสินใจทางการเมือง หากจะให้มีกระบวนการเรียนรู้มิติอิสลามซึ่งมีอยู่หลายชุด ก็น่าจะเป็นประโยชน์มาก

               เรื่องนี้เป็นเรื่องละเอียดอ่อน ควรต้องใช้การมีส่วนร่วมให้มาก”




                                                  ข้อเสนอแนะ การเข้าถึงความยุติธรรมของผู้หญิงมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้  39
   45   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55