Page 46 - ข้อเสนอแนะการเข้าถึงความยุติธรรมของผู้หญิงมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้
P. 46
๒) ความเห็นขององค์การระหว่างประเทศและองค์กรภาครัฐต่อข้อเสนอแนะของผู้หญิงในการส่งเสริม
การเข้าถึงความยุติธรรมในจังหวัดชายแดนภาคใต้
การสัมมนาระดับชาติ เรื่อง “สู่แนวปฏิบัติเพื่อส่งเสริมการเข้าถึงความยุติธรรมของผู้หญิงมุสลิมในจังหวัด
ชายแดนภาคใต้” เมื่อวันที่ ๒๑ เมษายน ๒๕๕๘ ซึ่ง กสม. และองค์กรเครือข่ายร่วมกันจัดขึ้นเพื่อแลกเปลี่ยน
ความคิดเห็นเกี่ยวกับการอ�านวยความยุติธรรมและการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของผู้หญิงนั้น มีผู้แทนองค์การระหว่าง
ประเทศและหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องให้ความเห็นต่อข้อเสนอแนะของผู้หญิงมุสลิมในการส่งเสริมการเข้าถึง
ความยุติธรรมของผู้หญิงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมถึงข้อมูลในสิ่งที่หน่วยงานรัฐก�าลังด�าเนินการตามค�ามั่น และ
แผนการด�าเนินงานของหน่วยงานในเรื่องนี้ ดังนี้
โรแบร์ตา คล้าค (Roberta Clarke)
ผู้อ�ำนวยกำรภูมิภำคเอเชียและแปซิฟิก
องค์กำรเพื่อควำมเสมอภำคระหว่ำงเพศและเพิ่มพลังของผู้หญิงแห่งสหประชำชำติ (UN WOMEN)
“ประเทศไทยนับเป็นประเทศผู้น�าในการเป็นภาคี CEDAW ใน
ภูมิภาคนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นหนึ่งในสองประเทศในภูมิภาคเอเชีย ตะวัน
ออกเฉียงใต้ ซึ่งจริงๆ แล้วในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกด้วย ที่เป็นภาคีพิธีสาร
เลือกรับของ CEDAW ตอนที่ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีนั้นได้มีข้อสงวน
หลายข้อ และล่าสุดได้ถอนข้อสงวนข้อที่ ๑๖ เรื่องการใช้มาตรการที่เหมาะสม
ในการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อผู้หญิงในชีวิตสมรสและสัมพันธภาพใน
ครอบครัวให้มีความเสมอภาคระหว่างหญิงชายออกในปี พ.ศ. ๒๕๕๕ ซึ่ง
นับเป็นก้าวย่างที่ส�าคัญมากที่สร้างให้เกิดกรอบการปฏิบัติงานที่เรามาคุย
กันวันนี้... ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาคณะกรรมการ CEDAW ได้ให้ข้อสังเกต
แก่ประเทศภาคีเช่นเดียวกับประเทศไทยที่มีข้อสงวนที่ข้อ ๑๖ ว่า เหตุผลเกี่ยวกับศาสนา วัฒนธรรม และประเพณี
ไม่สามารถน�ามาเป็นเหตุผลในการเลือกปฏิบัติได้ จึงขอให้ประเทศต่างๆ ถอนข้อสงวนข้อนี้ออกไป ซึ่งประเทศไทย
ได้แสดงบทบาทน�าในการถอนข้อสงวนนี้ออกไปแล้ว แต่ข้อท้าทายของประเทศไทยและอีกหลายประเทศคือ
ท�าอย่างไรจะให้การถอนข้อสงวนน�าไปสู่การออกกฎหมาย นโยบาย และน�าไปสู่การปฏิบัติที่สอดคล้องกับมาตรฐาน
CEDAW เพื่อเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมน�าไปสู่ความเสมอภาคอย่างแท้จริง โดยไม่น�าเหตุผลทางศาสนา วัฒนธรรม และ
ประเพณีมาเป็นเหตุผลในการเลือกปฏิบัติต่อผู้หญิง
ในการปฏิบัติตามพันธกรณี CEDAW มีหลักการส�าคัญสามประการ ซึ่งมีความส�าคัญไม่เฉพาะกับไทยแต่กับ
ทุกประเทศ ได้แก่ ๑) ความเสมอภาคระหว่างหญิงชาย ซึ่งไม่เฉพาะความเสมอภาคทางโอกาส การเข้าถึงทรัพยากร
เท่านั้น แต่ยังหมายถึงความเสมอภาคในผลลัพธ์ที่ท�าให้หญิงและชายมีความเสมอภาคและชีวิตอยู่ร่วมกันได้อย่าง
มั่นคงด้วย ๒) การไม่เลือกปฏิบัติทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยรัฐมีข้อผูกพันที่จะขจัดการเลือกปฏิบัติโดยกฎหมาย
และนโยบายทั้งทางตรงและทางอ้อม การขจัดการเลือกปฏิบัติทางอ้อมจะเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงบรรทัดฐานและ
การปฏิบัติทางวัฒนธรรม ๓) รัฐมีพันธกรณีที่จะต้องเคารพ คุ้มครองและท�าให้สิทธิของประชาชนเกิดขึ้นจริง ไม่เพียง
แต่รัฐที่จะต้องด�าเนินการตามพันธะสัญญาเท่านั้น ผู้ที่ไม่ใช่ภาครัฐ เช่น นายจ้าง สหภาพการค้า สามี-ภรรยา เอกชน
ก็ต้องมีข้อผูกพันที่จะยึดหลักความเสมอภาคระหว่างหญิงชายด้วย นอกจากนั้น CEDAW ยังระบุให้ประเทศภาคีบรรจุ
หลักความเสมอภาคระหว่างหญิงชายไว้ในรัฐธรรมนูญด้วย
ข้อเสนอแนะ การเข้าถึงความยุติธรรมของผู้หญิงมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ 35