Page 72 - รายงานการติดตามการลงทุนโดยตรงของไทยในต่างประเทศ : ผลกระทบต่อชุมชน สิ่งแวดล้อม และการละเมิดสิทธิมนุษยชน
P. 72
รายงานการติดตามการลงทุนโดยตรงของไทยในต่างประเทศ
ผลกระทบต่อชุมชน สิ่งแวดล้อม และการละเมิดสิทธิมนุษยชน
จะได้รับผลกระทบและต้องเสนอให้รัฐสภาให้การรับรองก่อน ทั้งนี้เนื่องจากโครงการ
มีพื้นที่ในส่วนของอ่างเก็บน�้าที่จะกินพื้นที่เข้ามาในเขตประเทศไทย ซึ่งขณะนี้ยัง
ไม่ทราบแน่ชัดว่าพื้นที่ที่จะได้รับผลกระทบนั้นมีขนาดครอบคลุมเพียงใด
การไม่ปฏิบัติตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 มาตรา 67 ได้ระบุ
ว่า ต้องด�าเนินการให้มีการเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะที่ครบถ้วนมีกระบวนการ
รับฟังความเห็นจากประชาชน และการท�าประชาพิจารณ์ มีขั้นตอนการจัดท�า
รายงานการศึกษาความเหมาะสม และการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ
ที่สมบูรณ์ รวมทั้งการได้รับความเห็นจากองค์กรอิสระด้านสิ่งแวดล้อม และเข้าสู่
กระบวนการพิจารณารายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมของไทย
การไม่ปฏิบัติตามกฎหมายส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ.
2535 ซึ่งก�าหนดให้ กฟผ.ต้องน�าเสนอรายงานการศึกษาความเหมาะสมและรายงาน
ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ต่อคณะกรรมการผู้ช�านาญการ และคณะกรรมการสิ่งแวดล้อม
แห่งชาติ พิจารณาให้ความเห็นชอบ
ประเด็นผลกระทบอื่น ๆ
แนวเขตแดน
จากรายงานการจรวจสอบของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พบ
ว่าหากมีการสร้างเขื่อนฮัตจีอาจท�าให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของระดับน�้าในแม่น�้า
สาละวินและแม่น�้าเมย ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อแนวเขตแดนไทย – เมียนมา โดย
กระทรวงการต่างประเทศมีความเห็นว่าหนังสือสัญญาระหว่างกระทรวงพลังงาน
ของไทยกับกระทรวงพลังงานไฟฟ้าของเมียนมาเป็นการร่วมโครงการสร้างเขื่อน
ในเมียนมา อาจมีนัยทางการเมืองและความอ่อนไหวค่อนข้างสูง ซึ่งอาจมีบุคคลที่
เกี่ยวข้องน�าประเด็นเสนอให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความตามมาตรา 190 วรรคหกของ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ได้ ดังนั้น เพื่อป้องกันปัญหาใด ๆ ที่
อาจเกิดขึ้นและเพื่อความรอบคอบ จึงเห็นว่าส่วนราชการเจ้าของเรื่อง ซึ่งหมายถึง
กระทรวงพลังงานของไทย ควรน�าหนังสือสัญญาของฝ่ายไทยเสนอให้คณะรัฐมนตรี
98
และรัฐสภาให้ความเห็นชอบก่อนด�าเนินโครงการเขื่อนฮัตจี
98 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ. รายงานการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน เรื่อง สิทธิชุมชน
กรณีโครงการก่อสร้างเขื่อนในแม่น�้าสาละวิน, 2551.
68