Page 70 - รายงานการติดตามการลงทุนโดยตรงของไทยในต่างประเทศ : ผลกระทบต่อชุมชน สิ่งแวดล้อม และการละเมิดสิทธิมนุษยชน
P. 70
รายงานการติดตามการลงทุนโดยตรงของไทยในต่างประเทศ
ผลกระทบต่อชุมชน สิ่งแวดล้อม และการละเมิดสิทธิมนุษยชน
ความสงบในเมียนมา ที่ประชาชนเจ้าของพื้นที่สามารถกลับคืนสู่ถิ่นฐานเดิมได้สามารถ
แสดงความคิดเห็นต่อโครงการที่จะส่งผลกระทบโดยตรงต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน เมื่อ
นั้นจึงจะสามารถเริ่มกระบวนการพิจารณาทางเลือกการจัดหาพลังงานอย่างรอบด้าน
และโปร่งใส
ประเด็นปัญหาด้านสิทธิมนุษยชน
การส่งเสริมให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชน
การด�าเนินการสร้างเขื่อนฮัตจีเกิดขึ้นในพื้นที่ ที่ยังคงมีการสู้รบระหว่างกอง
ก�าลังภายใต้การควบคุมของรัฐบาลเมียนมากับกองก�าลังกะเหรี่ยงเคเอ็นยู ซึ่งมี
ชุมชนกะเหรี่ยงรอบอ่างเก็บน�้า ที่มีความเสี่ยงต่อการคุกคามโดยกองทัพเมียนมา
อย่างน้อย 41 หมู่บ้าน ดังนั้นเพื่อให้โครงการนี้เกิดขึ้นจึงถือเป็นเงื่อนไขความจ�าเป็นที่
จะผลักดันให้รัฐบาลเมียนมาต้องเข้ามาควบคุมพื้นที่ทั้งหมดอย่างสมบูรณ์ ซึ่งจะสร้าง
ปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างรุนแรง และส่งผลต่อเนื่องต่อประเทศไทยในการ
ต้องแบกรับภาระผู้อพยพอีกเป็นจ�านวนมากซึ่งไม่สามารถกลับถิ่นฐานเดิมได้ จากที่
ในปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ลี้ภัยในค่ายผู้อพยพในจังหวัดตาก และจังหวัดแม่ฮ่องสอน
รวมกันแล้วอย่างน้อย 134,240 คน (ตัวเลขเมื่อปี 2558) นอกจากนี้รายได้จากการ
ขายไฟฟ้าให้แก่ประเทศไทย จะยิ่งเพิ่มขีดความสามารถทางการทหารของกองทัพ
เมียนมามากขึ้นในการเข้ารุกรานพื้นที่ของชาติพันธุ์ต่าง ๆ และจะท�าให้เกิดปัญหา
94
การละเมิดสิทธิมนุษยชนมากยิ่งขึ้นตามมา
นอกจากนี้ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้สรุปการตรวจสอบการ
ละเมิดสิทธิมนุษยชนกรณีโครงการก่อสร้างเขื่อนฮัตจี เมื่อวันที่ 9 เดือนสิงหาคม
2550 มีความเห็นว่า พื้นที่โครงการเขื่อนฮัตจียังคงเป็นพื้นที่ในสถานการณ์ความ
ขัดแย้งและมีการสู้รบ ระหว่างรัฐบาลเมียนมากับประชาชนกะเหรี่ยง (KNU) การสร้าง
เขื่อนฮัตจีย่อมส่งผลกระทบต่อประชาชนกะเหรี่ยง เพราะต้องอพยพหลบหนีการ
กวาดล้างเข้ามาสู่ประเทศไทย ดังนั้นการสร้างเขื่อนฮัตจีจึงเป็นการส่งเสริมให้มีการ
94 โครงการฟื้นฟูนิเวศในภูมิภาคแม่น�้าโขง. สรุปโครงการเขื่อนฮัตจี, เมษายน 2553.
66