Page 76 - รายงานการติดตามการลงทุนโดยตรงของไทยในต่างประเทศ : ผลกระทบต่อชุมชน สิ่งแวดล้อม และการละเมิดสิทธิมนุษยชน
P. 76

รายงานการติดตามการลงทุนโดยตรงของไทยในต่างประเทศ
        ผลกระทบต่อชุมชน สิ่งแวดล้อม และการละเมิดสิทธิมนุษยชน


        โดยมีขนาดใหญ่เกือบ  10  เท่า  ของนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด  มีมูลค่าการลงทุน
        มากกว่า 300,000 ล้านบาทภายในเขตเศรษฐกิจพิเศษจะประกอบไปด้วยอุตสาหกรรม
        ทุกประเภท เช่น ปิโตรเคมี โรงงานผลิตเหล็ก โรงงานผลิตปุ๋ยเคมี และโรงไฟฟ้าถ่านหิน
        ขนาด  4,000  เมกะวัตต์  รวมทั้งการก่อสร้างท่าเรือน�้าลึก  เส้นทางเชื่อมโยงมายัง
        ประเทศไทย (ได้แก่ ถนน รถไฟ ท่อส่งน�้ามัน สายไฟฟ้าแรงสูง) และอ่างเก็บน�้า โดยการ
        คาดการณ์ว่าจะมีการเข้ามาลงทุนของนักลงทุนจากทั่วโลก  ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการจ้าง
        งานและการถ่ายโอนสินค้า บริการ เทคโนโลยี และองค์ความรู้ต่าง ๆ อย่างมหาศาล รวม
        ถึงเกิดการเชื่อมโยงโครงข่ายการคมนาคมในภูมิภาคอาเซียนโดยเฉพาะในส่วนของ
        พื้นที่ที่เรียกว่า “ระเบียงเศรษฐกิจทางตอนใต้” (Southern Economic Corridor)


        สภาพชุมชนและสิ่งแวดล้อมโดยรอบที่ตั้งโครงการ

               โครงการท่าเรือน�้าลึกละเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย  ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียง
        เหนือ ไกลออกไปจากตัวเมืองทวายราว 20 กิโลเมตร อยู่ติดกับทะเลอันดามัน และอยู่
        ในพื้นที่เกษตรกรรมของชุมชนในภาคตะนาวศรี  โดยสามารถแบ่งพื้นที่โครงการและ
        โครงการที่เกี่ยวข้องออกเป็น 3 ส่วน
        1)      หมู่บ้านในพื้นที่ราบลุ่ม: พื้นที่นิคมอุตสาหกรรมและท่าเรือน�้าลึก (ภายในเขต
        เศรษฐกิจพิเศษ)และพื้นที่ใกล้เคียงอยู่ในเขตพื้นที่ที่เรียกกันว่า  “นาบูเล”  เป็นเขตที่มี
        ผืนนาและชายฝั่งทะเลที่อุดมสมบูรณ์  ซึ่งดึงดูดให้คนในท้องถิ่นเข้ามาตั้งรกรากกว่า
        หลายศตวรรษ โดยกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในบริเวณนี้ คือ กลุ่มชาติพันธ์ทวาย ซึ่ง
        พวกเขามีประวัติศาสตร์ ภาษา และวัฒนธรรม เป็นของตนเอง หาเลี้ยงชีพด้วยการ
        ท�าเกษตรกรรมเป็นหลัก ใช้ที่ดินท�าการเกษตรแบบผสมผสาน ทั้งท�าสวนผลไม้ นาข้าว
        และท�าไร่ในบริเวณพื้นที่สูง  ชาวบ้านในแถบนี้ส่วนใหญ่เป็นเจ้าของที่ดิน  นอกจากนี้

        หมู่บ้านที่อยู่ใกล้ชายฝั่งทะเล  ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพประมง  และท�านาเกลือเป็นหลัก
        และในบริเวณนี้ยังมีพื้นที่ป่าชายเลนซึ่งเป็นแหล่งเพาะพันธุ์และอนุบาลสัตว์น�้า
        2)     หมู่บ้านในพื้นที่สูง (พื้นที่ถนนเชื่อมต่อ) ชาวบ้านที่อาศัยยู่ในพื้นที่สูง ส่วนใหญ่
        เป็นกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง และอาจกลุ่มชาติพันธุ์อื่น ๆ เช่น มอญ ทวาย พม่า โดยกลุ่ม
        ชาติพันธุ์กะเหรี่ยงมีประวัติการตั้งถิ่นฐานในบริเวณอย่างยาวนานกว่า 1,000 ปี โดย
        ชุมชนในพื้นที่สูงพึ่งพาทรัพยากรที่ดินและทรัพยากรธรรมชาติมากกว่าชมชุนในที่
        ราบลุ่ม ส่วนใหญ่เน้นการท�าสวนและท�าไร่เป็นหลัก โดยพืชที่ปลูกส่วนใหญ่ คือ หมาก

        72
   71   72   73   74   75   76   77   78   79   80   81