Page 67 - รายงานการติดตามการลงทุนโดยตรงของไทยในต่างประเทศ : ผลกระทบต่อชุมชน สิ่งแวดล้อม และการละเมิดสิทธิมนุษยชน
P. 67
กรณีศึกษาโครงการลงทุนโดยตรงของไทยในเมียนมา
1. ผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน
ระดับนโยบาย: รัฐบาลควรแสวงหาความร่วมมือกับรัฐบาลเมียนมาในการจัดระเบียบ
การอพยพเคลื่อนย้ายประชาชนในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ โดยไม่ใช้การผลักดัน
ระดับปฏิบัติ: กฟผ. ควรประสานงานกับกระทรวงพลังงานไฟฟ้าของเมียนมา เพื่อให้
มีการระบุใน MOA ว่าการด�าเนินโครงการจะมีการแก้ไขผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม มี
หลักประกันการดูแลและระมัดระวังให้การอพยพเคลื่อนย้ายประชาชนโดยไม่ใช้การ
ผลักดันซึ่งเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน รวมทั้งต้องก�าหนดให้มีโครงการเพื่อพัฒนา
ประชาชนที่ได้รับผลกระทบให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี โดยควรระบุเนื้อหาเหล่านี้ลงใน
เอกสารที่มีการลงนามร่วมกันสามฝ่ายระหว่างผู้แทนพม่า กฟผ. อินเตอร์เนชันแนล
และ บริษัท Sinohydro ด้วย
2. ผลกระทบสิ่งแวดล้อม
แม้จะมีการจัดท�าการศึกษาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมในฝั่งเมียนมาไปแล้ว แต่ก็ยัง
ขาดความสมบูรณ์ในหลายประเด็น รวมทั้งผลกระทบต่อระบบนิเวศและ
การประมงบริเวณปากแม่น�้าสาละวิน อีกทั้งโครงการเขื่อนฮัตจียังมีผลกระทบต่อ
พื้นที่ฝั่งไทย โดยเฉพาะการประกอบอาชีพบริเวณริมตลิ่งและการประมงในล�าน�้า
สาละวินและล�าน�้าสาขา ดังนั้นเพื่อความชัดเจนและสอดคล้องกับมาตรฐานกฎหมาย
ไทย รัฐบาลควรก�าหนดให้ กฟผ. ท�าการศึกษาผลกระทบเพิ่มเติมในพื้นที่ฝั่งไทยที่
อาจได้รับผลกระทบ รวมทั้งหาแนวทางป้องกันและลดผลกระทบ
3. ผลกระทบด้านสาธารณสุข
กฟผ. ควรศึกษาผลกระทบด้านสาธารณสุขในพื้นที่บริเวณชายแดนไทยเพิ่มเติม เนื่องจาก
หากมีการอพยพเคลื่อนย้ายประชาชนในพื้นที่ไปยังที่อยู่ใหม่ อาจมีการเปลี่ยนแปลง
สภาพแวดล้อม ชีวิตความเป็นอยู่ที่จะต้องมีการปรับตัวและสร้างภูมิคุ้มกันโรค
4. ผลกระทบต่อแนวเขตแดน
การสร้างเขื่อนฮัตจีอาจส่งผลต่อแนวเขตแดนไทย – เมียนมา เนื่องจากจะท�าให้เกิด
การเปลี่ยนแปลงของระดับน�้าในแม่น�้าสาละวินและแม่น�้าเมย
5. การเป ิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะ
รัฐบาลควรให้หน่วยงานกลางจัดให้มีเวทีสาธารณะและการเปิดเผยข้อมูลเพื่อท�าให้
ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องได้มีโอกาสรับทราบข้อมูลและข้อเท็จจริงที่ถูกต้องในทุก ๆ ด้าน
มีการชี้แจงข้อสงสัย และแนวทางแก้ไขปัญหา รวมทั้งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
63