Page 71 - รายงานการติดตามการลงทุนโดยตรงของไทยในต่างประเทศ : ผลกระทบต่อชุมชน สิ่งแวดล้อม และการละเมิดสิทธิมนุษยชน
P. 71
กรณีศึกษาโครงการลงทุนโดยตรงของไทยในเมียนมา
ละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อประชาชนชาวกะเหรี่ยงในเมียนมา และประเทศไทยต้อง
แบกรับภาระในการดูแลผู้อพยพ ทั้งนี้ในท้ายที่สุดคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน
95
แห่งชาติได้เสนอว่าให้ทางรัฐบาลให้กฟผ.ระงับการก่อสร้างเขื่อนฮัตจี
ความโปร่งใสในการเป ิ ดเผยข้อมูลข่าวสาร
จนถึงปัจจุบัน กฟผ. ยังไม่มีการเปิดเผยข้อมูลการด�าเนินการโครงการ
เขื่อนไฟฟ้าฮัตจี ได้แก่ บันทึกความตกลงกับการไฟฟ้าเมียนมาว่าด้วยการ
พัฒนา ความเป็นเจ้าของและการด�าเนินการเขื่อนฮัตจี ระหว่าง บริษัท กฟผ.
จ�ากัด (มหาชน) กับ กรมไฟฟ้าพลังน�้าของเมียนมา กระทรวงการไฟฟ้าของเมีย
นมา, บันทึกความเข้าใจการศึกษาและพัฒนาโครงการไฟฟ้าพลังน�้าฮัตจี ระหว่าง
กฟผ. กับบริษัท Sinohydro ของจีน, รายงานการศึกษาความเหมาะสมและการ
ศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมของเขื่อนฮัตจี, แผนที่ขอบเขตน�้าท่วมที่ชัดเจนของ
เขื่อนฮัตจี, มูลค่าการลงทุนที่แท้จริงของโครงการ ซึ่งที่ผ่านมา กฟผ. อ้างว่าเป็น
ข้อตกลงกับกรมไฟฟ้าพลังน�้าเมียนมา ที่ต้องรักษาข้อมูลโครงการเป็นความลับ
หรือการเปิดเผยต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่งก่อน 96
ประเด็นช่องว่าง ของกฎหมาย และความรับผิดชอบ
การอาศัยช่องว่างทางกฎหมาย
ถึงแม้ว่าเขื่อนไฟฟ้าฮัตจีจะสร้างในประเทศพม่า แต่เป็นที่ชัดเจนว่าขอบเขต
อ่างเก็บน�้าจะล�้าเข้ามาในเขตประเทศไทยด้วย ดังนั้น กฟผ. ในฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจ
ไทยจ�าเป็นต้องรักษามาตรฐานการด�าเนินโครงการเช่นเดียวกันกับที่ด�าเนินการใน
ประเทศไทย ทั้งที่ก�าหนดไว้ในกฎหมายรัฐธรรมนูญของไทยและกฎหมายอื่น ๆ ที่
97
เกี่ยวข้อง ได้แก่
การไม่ปฏิบัติตามกฎหมายที่ปรากฏภายในรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ใน
มาตรา 190 วรรคสอง คือ การเปิดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนที่คาดว่า
95 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ. รายงานการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน เรื่อง สิทธิชุมชน
กรณีโครงการก่อสร้างเขื่อนในแม่น�้าสาละวิน, 2551.
96 โครงการแม่น�้าเพื่อชีวิต, โครงการฟื้นฟูนิเวศวิทยาในภูมิภาคอินโดจีนและพม่า และศูนย์ข่าวสาละ
วิน. สาละวิน: สายน�้าสามแผ่นดิน. เชียงใหม่: วนิดาเพรส, 2551.
97 โครงการฟื้นฟูนิเวศในภูมิภาคแม่น�้าโขง, สรุปโครงการเขื่อนฮัตจี, เมษายน 2553
67