Page 77 - รายงานการติดตามการลงทุนโดยตรงของไทยในต่างประเทศ : ผลกระทบต่อชุมชน สิ่งแวดล้อม และการละเมิดสิทธิมนุษยชน
P. 77
กรณีศึกษาโครงการลงทุนโดยตรงของไทยในเมียนมา
ยางพารา มะม่วงหิมพานต์ และพืชเศรษฐกิจอื่น ๆ นอกจากนี้ยังท�าปศุสัตว์ด้วย
ข้อแตกต่างจากหมู่บ้านในพื้นที่ราบลุ่ม คือ การท�านาข้าวไม่เป็นที่นิยมนัก อย่างไร
ก็ตาม หลายครัวเรือนท�าไร่ข้าวหมุนเวียน โดยแต่ละปีจะปลูกข้าวสลับกับพืชผลอื่น ๆ
และจะทิ้งที่ดินให้พักฟื้นเพื่อให้เกิดการฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ ผลผลิตต่าง ๆ เป็น
ทั้งแหล่งอาหารและแหล่งรายได้ที่ส�าคัญของชุมชนในบริเวณนี้
3) หมู่บ้านกาโลนท่า (พื้นที่อ่างเก็บน�้า) ตั้งอยู่ในพื้นที่สูง แต่อยู่ใกล้กับที่ราบ
นาบูเลมากกว่าหมู่บ้านพื้นที่สูงอื่น ๆ โดยประชาชนในหมู่บ้านนี้ส่วนใหญ่เป็นกลุ่ม
106
ชาติพันธุ์ทวาย แต่ท�าการเกษตรและเลี้ยงปศุสัตว์เช่นเดียวกับหมู่บ้านบนพื้นที่สูงทั่วไป
นโยบายสนับสนุนของไทย
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ.2555-2559)
นโยบายส่งเสริมการลงทุนในระยะ 7 ปี ของส�านักงานคณะกรรมการ
ส่งเสริมการลงทุน
ยุทธศาสตร์ความร่วมมือของ สพพ. กับ เมียนมา ช่วงปี 2557-2560
นโยบายสนับสนุนของเมียนมา
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2554-2574)
กฎหมายการลงทุนต่างประเทศ ปี 2555 (Foreign Investment Law 2012 - FIL)
กฎหมายเขตเศรษฐกิจพิเศษปี 2554
กฎหมายเขต เศรษฐกิจพิเศษ ปี 2557
ประเด็นปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและวิถีชีวิตของชุมชน
รายงานของสมาคมพัฒนาทวาย (Dawei Development Association -
DDA) คาดการณ์ว่าในระยะเริ่มต้นของโครงการนี้มี ประชากรกว่า 43,000 คน ใน
36 หมู่บ้าน จะได้รับผลกระทบโดยตรงจากโครงการท่าเรือน�้าลึกและเขตเศรษฐกิจ
พิเศษทวาย รวมถึงโครงการที่เกี่ยวข้อง เช่น อ่างเก็บน�้า (เขื่อน) และการสร้างถนน
เชื่อมต่อโดยแบ่งเป็นพื้นที่ดังต่อไปนี้
106 สมาคมพัฒนาทวาย. เสียงจากชุมชน: ข้อกังวลเกี่ยวกับเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายและโครงการที่เกี่ยวข้อง.
ม.ป.พ., สมาคมพัฒนาทวาย, 2557.
73