Page 65 - รายงานการติดตามการลงทุนโดยตรงของไทยในต่างประเทศ : ผลกระทบต่อชุมชน สิ่งแวดล้อม และการละเมิดสิทธิมนุษยชน
P. 65

กรณีศึกษาโครงการลงทุนโดยตรงของไทยในเมียนมา




                       การศึกษาของ กฟผ. ระบุว่า ผลกระทบในฝั่งเมียนมานั้นหมู่บ้านที่ได้รับ
               ผลกระทบจากน�้าท่วมมีทั้งหมด 6 หมู่บ้านได้แก่ กะโลเตทะ ฉ่วยอุเว่จอปูลู ซาเส็ก
                                                       87
               ยุนมาทะ และ เบาะทารอ จ�านวนทั้งสิ้น 110 ครัวเรือน
                       ทั้งนี้ผลกระทบในเขตไทย โอกาสที่ครัวเรือนจะได้รับผลกระทบเป็น 3 ระดับ
               คือครัวเรือนที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบระดับสูง  ระดับปานกลาง  และระดับต�่า
               พบว่า ที่บ้านท่าตาฝั่ง มี 2 ครัวเรือนที่มีความเสี่ยงระดับปานกลาง และ 93 ครัวเรือน
               ที่มีความเสี่ยงต�่า ที่บ้านแม่สามแลบมีครัวเรือนที่มีความเสี่ยงสูง 1 ครัวเรือน มี

               ครัวเรือนที่มีความเสี่ยงระดับปานกลาง 48 ครัวเรือน ที่บ้านสบเมย มี 2 ครัวเรือน
               ที่มีความเสี่ยงระดับปานกลาง และ 85 ครัวเรือนที่มีความเสี่ยงในระดับต�่า ดังนั้น
               ในสามหมู่บ้าน จะมีครัวเรือนที่มีความเสี่ยงระดับสูงอยู่ 1 ครัวเรือน ครัวเรือนที่มี
               ความเสี่ยงระดับปานกลาง  52  ครัวเรือน  และครัวเรือนที่มีความเสี่ยงระดับต�่าอยู่
               293 ครัวเรือน 88


               การตรวจสอบโดยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
                       ทางคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้มีการพิจารณาหยิบยกเอา
               ประเด็นสิทธิชุมชน  กรณีโครงการก่อสร้างเขื่อนสาละวิน  (ซึ่งในที่นี่คือ  โครงการ
               เขื่อนฮัตจี) ขึ้นมาตรวจสอบ อาศัยอ�านาจตามมาตรา 25 แห่งพระราชบัญญัติคณะ
               กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ซึ่งกรณีนี้ระบุเป็นค�าร้องที่ 191/2549
               ลงวันที่ 25 เมษายน 2549 โดยมอบหมายให้คณะอนุกรรมการสิทธิในทรัพยากรน�้า
               ชายฝั่ง และแร่ เป็นผู้ด�าเนินการตรวจสอบ
                       โดยในรายงานผลการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนของคณะ

               อนุกรรมการสิทธิในทรัพยากรน�้า ชายฝั่ง และแร่ ที่ 526/2550 มีความเห็นว่าการ
               ก่อสร้างโครงการเขื่อนฮัตจีส่งเสริมให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชน เนื่องจากอยู่ใน
               พื้นที่ความขัดแย้งระหว่างกองก�าลังรัฐบาลพม่ากับกองก�าลังกะเหรี่ยง  (KNU)  ซึ่ง
               จะส่งผลให้มีการอพยพหนีภัยสงครามของผู้คนในบริเวณนั้น  และโครงการเขื่อน
               ฮัตจีจะส่งผลให้ที่ดินที่ท�ากินและที่อยู่อาศัยของผู้ที่ได้รับผลกระทบถูกน�้าท่วม

               87  เอกสารประกอบการประชุมการมีส่วนร่วมย่อย, โครงการการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเพิ่มเติมโครงการ
               ไฟฟ้าพลังน�้าฮัตจีบริเวณชายแดนไทย-พม่า(การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย)จัดเตรียมโดยศูนย์บริการ
               วิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ธันวาคม 2556
               88  เรื่องเดียวกัน
                                                                          61
   60   61   62   63   64   65   66   67   68   69   70