Page 63 - รายงานการติดตามการลงทุนโดยตรงของไทยในต่างประเทศ : ผลกระทบต่อชุมชน สิ่งแวดล้อม และการละเมิดสิทธิมนุษยชน
P. 63

กรณีศึกษาโครงการลงทุนโดยตรงของไทยในเมียนมา




               สภาพชุมชนและสิ่งแวดล้อมโดยรอบที่ตั้งโครงการ
                      เขื่อนฮัตจีจะตั้งอยู่บนแม่น�้าสาละวิน  บริเวณชายแดนไทย  –  เมียนมา
               โดยเขื่อนและอ่างเก็บน�้าจะท�าลายสิ่งแวดล้อมโดยรอบ  ซึ่งมีความส�าคัญและอุดม
               สมบูรณ์อย่างยิ่งทั้งทรัพยากรป่าไม้ซึ่งเป็นพรรณไม้หายาก เช่น ไม้สัก ซึ่งจะเห็นได้

               จากผืนป่าสักในลุ่มน�้าสาละวินเป็นผืนป่าสักที่ใหญ่และต่อเนื่องกัน ต่างจากที่อื่น ๆ
               ที่เป็นป่าสักแบบย่อม ๆ ไม่ต่อเนื่อง นอกจากนี้ป่าสาละวินยังถือได้ว่าเป็นภูมิพฤกษ์
               แบบอินโดเบอร์ม่า (Indo – Burmese Province) ท�าให้ประกอบไปด้วยสังคมป่าไม้
               หลายรูปแบบด้วยกัน เช่น สังคมป่าดิบเขา, ป่าดิบแล้ง, ป่าผสมผลัดใบ, ป่าเต็งรัง,
               ป่าผาหินและยอดเขาหินปูน,  ป่าริมน�้า  เป็นต้น  นอกจากนี้ยังมีความหลากหลาย
               ทางชีวภาพของบรรดาสัตว์ป่าหายากอยู่เป็นจ�านวนมากที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์
               เช่น กวางผา, เลียงผา, กระทิง, เสือโคร่ง, เสือดาวเป็นต้น โดยในพื้นที่ป่า ชาวบ้าน
               จะใช้ประโยชน์โดยท�าการเพาะปลูก เช่น ท�าสวน ท�าไร่ และเก็บของป่า
                                                                   83
                      นอกจากระบบนิเวศบนบกแล้ว  ระบบนิเวศในน�้าก็มีส่วนส�าคัญอย่างยิ่ง
               ต่อการด�ารงชีวิตของผู้คนที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้น  โดยระบบนิเวศในน�้านั้นมีความ
               หลากหลายสูง โดยมีเกาะ แก่ง ดอน หาดทราย เป็นจ�านวนมาก ระบบนิเวศย่อย

               เหล่านี้เป็นทั้งแหล่งอาหาร  แหล่งเพาะปลูก  และแหล่งที่อยู่ของสัตว์น�้านานาชนิด
               ชาวบ้านจะใช้พื้นที่ระบบนิเวศย่อย เช่น หาด หรือพื้นที่ริมตลิ่ง เป็นพื้นที่เพาะปลูก
               พืชผักสวนครัวหรือแม้กระทั่งท�าเป็นแปลงนาข้าว  หรือไปจนถึงท�าสวน  ส่วนในน�้า
               ซึ่งเป็นแหล่งอาศัยของปลาก็ถือเป็นแหล่งอาหารและแหล่งรายได้ที่ส�าคัญ ชาวบ้าน
               จะท�าการประมงขนาดเล็ก จับปลาเพื่อยังชีพและค้าขาย 84
                      นอกจากในส่วนของแม่น�้าสาละวินแล้ว  พื้นที่บริเวณที่เป็นที่ตั้งของเขื่อน
               ก็ยังมีส่วนที่เป็นล�าน�้าสาขาของแม่น�้าสาละวินอย่างแม่น�้าเมยซึ่งเป็นแหล่งหาปลา
               และแหล่งวางไข่ของปลาในแม่น�้าสาละวิน
                      บริเวณโดยรอบที่ตั้งโครงการ  เป็นที่ตั้งเขตพื้นที่ของชาวบ้านที่ส่วนใหญ่

               เป็นชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ  หรือ  ชาวกะเหรี่ยง  ทั้งในเขตไทยและเมียนมา
               ซึ่งมีวัฒนธรรม ภาษา และประวัติศาสตร์ของตนเอง

               83  โครงการแม่น�้าเพื่อชีวิต, โครงการฟื้นฟูนิเวศวิทยาในภูมิภาคอินโดจีนและพม่า และศูนย์ข่าวสาละวิน. สาละ
               วิน: สายน�้าสามแผ่นดิน. เชียงใหม่: วนิดาเพรส, 2551.
               84  เรื่องเดียวกัน
                                                                          59
   58   59   60   61   62   63   64   65   66   67   68