Page 35 - รายงานการติดตามการลงทุนโดยตรงของไทยในต่างประเทศ : ผลกระทบต่อชุมชน สิ่งแวดล้อม และการละเมิดสิทธิมนุษยชน
P. 35
กรณีศึกษาโครงการลงทุนโดยตรงของไทยในลาว
2. บมจ. ช.การช่าง ได้จัดตั้งบริษัท ไซยะบุรี พาวเวอร์ จ�ากัด (Xayaburi
Power Comapany Limited: XPCL) ในวันที่ 10 มิถุนายน 2553 โดยจดทะเบียน
เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายของ สปป.ลาว มีทุนจดทะเบียนเริ่มต้น 25,000,000
ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่ง บมจ. ช.การช่าง ถือหุ้นร้อยละ 95 และ บจก. พีที คอนสตรัคชั่น
แอนด์อิริเกชั่น ถือหุ้นร้อยละ5 การจัดตั้งบริษัทดังกล่าวเพื่อให้เป็นบริษัทร่วมทุน
และรับสัมปทานจากลาว รวมทั้งเป็นคู่สัญญาของ กฟผ.
3. ต่อมาในวันที่ 5 กรกฎาคม 2553 บมจ. ช.การช่าง ได้ลงนามในบันทึก
ความเข้าใจการรับซื้อไฟฟ้าโครงการเขื่อนไซยะบุรี (MoU) กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิต
แห่งประเทศไทย (กฟผ.) ที่นครเวียงจันทน์ สปป.ลาว โดย MoU จะมีผลบังคับใช้
เป็นเวลา 18 เดือนนับแต่วันลงนาม หรือจนกว่าจะมีการลงนามในสัญญาซื้อขาย
ไฟฟ้า (Power Purchase Agreement: PPA)
4. โดยหลังจากมีมติอนุมัติสัญญาซื้อขายไฟฟ้า บจก. ไซยะบุรี พาวเวอร์ ได้
ขายหุ้นให้ผู้ร่วมทุนอีก 3 แห่ง ในวันที่ 1 มีนาคม 2554 ได้แก่ บมจ.ผลิตไฟฟ้า บจก.
นที ซินเนอร์ยี่ และ บมจ.ทางด่วนกรุงเทพ โดยเข้ามาถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 12.5
25 และ 7.5 ตามล�าดับ
5. 15 มีนาคม 2555 บจก.ไซยะบุรี พาวเวอร์ ได้ลงนามว่าจ้าง บจก. ช.การช่าง
(ลาว) (บริษัทย่อยของ บมจ. ช.การช่าง) ให้ด�าเนินการสร้างเขื่อนไซยะบุรี ในวงเงิน
51,824,640,000 บาท และ 711,040,000 ดอลลาร์สหรัฐ เป็นเวลา 96 เดือน
(ประมาณ 73,155,840,000 บาท เวลา 8 ปี)
6. กฟผ. ต้องด�าเนินการก่อสร้างระบบสายส่งตามสัญญา (ECOCD) ภายใน
วันที่ 29 เมษายน 2555 เพื่อเชื่อมต่อสายส่งไฟฟ้าที่ชายแดนลาวซึ่งการก่อสร้าง
ระบบส่งไฟฟ้านี้ คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติงบประมาณจ�านวน 12,060 ล้านบาท
7. วันที่ 11 พฤศจิกายน 2555 รัฐบาลลาวได้ท�าพิธีเปิดการก่อสร้างเขื่อน
ไซยะบุรีอย่างเป็นทางการ
8. วันที่ 18 กรกฎาคม 2556บมจ. ช.การช่าง ได้ขายหุ้นใน บจก.ไซยะบุรี
พาวเวอร์ให้กับการไฟฟ้าลาว ส่งผลให้การไฟฟ้าลาว เข้ามามีสัดส่วนการถือหุ้น
รายละ 20 หลังจากนั้น บมจ.ช.การช่าง ได้ขายหุ้นที่เหลือทั้งหมดใน บจก.ไซยะบุรี
พาวเวอร์ ให้แก่ บมจ.ซีเค พาวเวอร์ (บริษัทย่อยของ บมจ. ช.การช่าง)
31