Page 69 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง พันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนของประชาคมอาเซียน
P. 69
๕.๓ ข้อจ�ากัดในการจัดท�าตราสารสิทธิมนุษยชนในอาเซียน
หากเปรียบเทียบจ�านวนตราสารสิทธิมนุษยชนที่จัดท�าในอาเซียนกับที่ปรากฏในสามภูมิภาคหลัก คือ ยุโรป
อเมริกาและอาฟริกา ตามข้อมูลในบทที่ ๒ จะเห็นว่าอาเซียนยังมีจ�านวนตราสารด้านสิทธิมนุษยชนโดยเฉพาะตราสาร
ที่มีผลผูกพันทางกฎหมายน้อยกว่าภูมิภาคอื่นมาก แน่นอนว่าในด้านระยะเวลาการจัดตั้ง หากนับตั้งแต่เวลาที่อาเซียน
ประกาศใช้กฎบัตรในปี พ.ศ. ๒๕๕๐ จนถึงปัจจุบันเป็นเวลากว่าแปดปีก็ยังถือว่าอาเซียนอยู่ในระยะเริ่มต้น แต่ภูมิภาคอื่น
(ยกเว้นอาฟริกา) ก็สามารถจัดท�าตราสารสิทธิมนุษยชนในรูปแบบสนธิสัญญาหลายฉบับในระยะเวลาใกล้เคียงกัน สาเหตุ
หลักประการหนึ่งที่เป็นข้อจ�ากัดพื้นฐานที่ส�าคัญในการจัดท�าตราสารสิทธิมนุษยชนในอาเซียนไม่ว่าจะเป็นตราสารทาง
การเมืองหรือกฎหมาย นอกเหนือจากประเด็นข้อจ�ากัดหรือความท้าทายของกลไกสิทธิมนุษยชนอาเซียนที่จะกล่าวถึงใน
บทต่อไปโดยละเอียด คือ ข้ออ้างหรือความเข้าใจของประเทศสมาชิกอาเซียนที่ว่า ประเทศสมาชิกอาเซียนยังขาดจุดร่วมกัน
(Commonality) ในด้านพันธกรณีสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศในหลายประเด็น โดยมีจุดร่วมกันเพียงสองประเด็น คือ
สตรีและเด็ก อันเนื่องมาจากการที่ทุกประเทศได้เข้าเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ
48
(CEDAW) และอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก (CRC) ในหัวข้อนี้จึงจะวิเคราะห์ให้เห็นข้อเท็จจริงเกี่ยวกับพันธกรณีดังกล่าว
ตลอดจนข้อพิจารณาที่ว่าจ�าเป็นหรือไม่ที่จะต้องให้ประเทศสมาชิกเข้าเป็นภาคีในตราสารสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ
ร่วมกันทั้งสิบประเทศ เพื่อให้เกิดจุดร่วมให้อาเซียนสามารถด�าเนินการในประเด็นสิทธิมนุษยชนดังกล่าวได้
๕.๓.๑ การเป็นภาคีตราสารสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศของประเทศสมาชิกอาเซียน
นอกจากหลักการสิทธิมนุษยชนจะเป็นรากฐานของการก่อตั้งประชาคมอาเซียนดังที่ปรากฏ
ในกฎบัตรอาเซียนแล้ว หลักการสิทธิมนุษยชนยังถูกรับรองจากประเทศสมาชิกอาเซียนว่ามีความส�าคัญโดยผ่านการลงนาม
และให้สัตยาบันในตราสารหลักระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนซึ่งมีจ�านวน ๙ ฉบับ อย่างไรก็ตาม มีเพียงตราสาร
ระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนจ�านวน ๒ ฉบับซึ่งประเทศสมาชิกอาเซียนทั้งสิบประเทศได้ให้สัตยาบัน คือ อนุสัญญาว่า
ด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ (CEDAW) และอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก (CRC) นอกจากอนุสัญญา
ทั้งสองฉบับ ประเทศสมาชิกอาเซียนเข้าเป็นภาคีตราสารหลักด้านสิทธิมนุษยชนอีก ๗ ฉบับที่เหลือแตกต่างกัน ดังมี
รายละเอียดปรากฏในตารางที่ ๓ ซึ่งการที่รัฐสมาชิกอาเซียนเข้าเป็นภาคีในตราสารสิทธิมนุษยชนที่แตกต่างกัน โดยมี
จุดร่วมกันเพียงสองเรื่อง คือ สตรีและเด็ก ท�าให้เป็นความท้าทายของอาเซียนในการก�าหนดนโยบายในประเด็นที่ยังคงมี
ความแตกต่างกัน และในหลายกรณียังถูกใช้เป็นข้ออ้างของประเทศสมาชิกที่ยังไม่เข้าเป็นภาคีในตราสารบางฉบับในการ
ร่วมจัดท�าตราสารระดับภูมิภาคในอาเซียน เช่น สิทธิคนพิการ สิทธิทางการเมือง และสิทธิทางสังคมและวัฒนธรรม เป็นต้น
48
ประเทศบรูไนได้เข้าเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิผู้พิการ (CRPD) ณ วันที่ ๑๑ เมษายน ๒๕๕๙ ซึ่งอยู่นอกเหนือกรอบเวลา
ของการศึกษา การเข้าเป็นภาคีดังกล่าวจึงไม่ถูกน�ามาเป็นส่วนหนึ่งของการวิเคราะห์ในเนื้อหาของรายงานฉบับนี้ ดังนั้น จึงถือว่าอนุสัญญา
ว่าด้วยสิทธิผู้พิการ ถือเป็น “จุดร่วมกัน (Commonality)” ประการที่ ๓ ของสมาชิกอาเซียนทั้ง ๑๐ ประเทศ
68
ส�ำนักงำนคณะกรรมกำรสิทธิมนุษยชนแห่งชำติ