Page 67 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง พันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนของประชาคมอาเซียน
P. 67
๕.๒ ตราสารทางกฎหมาย
จากการตรวจสอบข้อมูลและข้อเท็จจริงปรากฏว่า ตราสารทางกฎหมายด้านสิทธิมนุษยชนของอาเซียน
มีจ�านวนน้อยกว่าตราสารทางการเมืองซึ่งได้รวบรวมและวิเคราะห์ไว้ในหัวข้อก่อนหน้านี้อย่างมาก โดยมีเกณฑ์ในการแยก
ประเภทตราสารที่ก่อให้เกิดพันธกรณีทางกฎหมายสองประการ คือ ประการแรก ตราสารประเภทนี้ถือเป็น “สนธิสัญญา”
ประเภทหนึ่งจึงอยู่ภายใต้บังคับกฎเกณฑ์ของอนุสัญญาเวียนนาว่าด้วยกฎหมายสนธิสัญญา (Vienna Convention on
the Law of Treaties) โดยอาจเรียกชื่อได้อย่างหลากหลาย เช่น อนุสัญญา (Convention) พิธีสาร (Protocol) ข้อตกลง
(Agreement) กติกา (Covenant) ค�าประกาศหรือปฏิญญา (Declaration) กฎบัตร (Charter) เป็นต้น หลักเกณฑ์ส�าคัญ
47
ในการพิจารณาอยู่ที่เจตนาของคู่สัญญา และ ประการที่สอง เป็นตราสารทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับประเด็นสิทธิมนุษยชน
ซึ่งเป็นเกณฑ์เดียวกับที่ใช้พิจารณาตราสารทางการเมืองในหัวข้อ ๕.๑
๕.๒.๑ อนุสัญญาสิทธิมนุษยชนในภูมิภาคอาเซียน
นอกจากตราสารหลักระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนจ�านวน ๙ ฉบับที่ประเทศสมาชิกอาเซียน
ได้เลือกเข้าเป็นภาคี อาเซียนได้มีการพัฒนาตราสารด้านสิทธิมนุษยชนของภูมิภาคเพื่อสร้างมาตรฐานสิทธิมนุษยชนร่วมกัน
ระหว่างประเทศสมาชิก โดยปัจจุบันอาเซียนได้มีการพัฒนาและรับรองอนุสัญญาอาเซียนจ�านวน ๕ ฉบับดังปรากฏรายชื่อ
ตามที่ได้รวบรวมไว้ในตารางที่ ๔ หากจะชี้เฉพาะสนธิสัญญาที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนโดยแท้ (กล่าวคือ ตั้งอยู่บน
หลักการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของผู้ทรงสิทธิและ/หรือก�าหนดหน้าที่ให้กับผู้ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงมาตรการ
เยียวยา) จะมีเพียงฉบับเดียวที่เข้าข่าย คือ อนุสัญญาต่อต้านการค้ามนุษย์โดยเฉพาะสตรีและเด็ก (ACTIP) ที่เพิ่งมี
การรับรองโดยที่ประชุมผู้น�าอาเซียนครั้งที่ ๒๗ ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ในเดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๘ ซึ่งเป็นตราสารที่ส�านัก
เลขาธิการอาเซียนยังมิได้รวบรวมไว้ในรายชื่อตราสารที่ใช้ในการวิเคราะห์ในครั้งนี้ (เนื่องจากเพิ่งมีการรับรอง) นอกจาก
อนุสัญญาต่อต้านการค้ามนุษย์ฯ แล้วตราสารทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนที่เหลือประกอบด้วย ๔ ฉบับ
ได้แก่ อนุสัญญาอาเซียนว่าด้วยการต่อต้านการก่อการร้าย และอนุสัญญาที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและการ
ตอบสนองต่อภัยพิบัติรวม ๓ ฉบับ ได้แก่ ข้อตกลงว่าด้วยการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ ๒๕๒๘ ซึ่งมีเนื้อหา
ที่ก้าวหน้ามาก โดยรวมประเด็นพันธกรณีการศึกษาผลกระทบของโครงการต่อสิ่งแวดล้อม (Environmental impact
assessment) แต่ยังไม่มีผลใช้บังคับแม้ว่าจะได้มีการรับรองตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๘ เนื่องจากยังมีจ�านวนประเทศสมาชิกที่ให้
สัตยาบันไม่ครบ ๖ ประเทศ ข้อตกลงอาเซียนว่าด้วยมลภาวะจากหมอกควันข้ามพรมแดน ๒๕๔๕ และข้อตกลงอาเซียน
ว่าด้วยการจัดการภัยพิบัติและการตอบสนองต่อภาวะฉุกเฉิน ๒๕๔๘ ซึ่งสองฉบับหลังมีผลใช้บังคับแล้ว)
47 อนุสัญญาเวียนนาก�าหนดให้ “สนธิสัญญา” หมายถึง สัญญาระหว่างประเทศที่เจรจาระหว่างรัฐเป็นลายลักษณ์อักษร และอยู่
ภายใต้บังคับกฎหมายระหว่างประเทศ ไม่ว่าจะอยู่ในตราสารฉบับเดียวหรือหลายฉบับ และไม่ว่าจะก�าหนดชื่อประการใด (มาตรา ๒ ย่อหน้า
๑ (b)) ทั้งนี้ คณะกรรมาธิการกฎหมายระหว่างประเทศในการยกร่างนิยามค�าว่า “สนธิสัญญา” ก�าหนดให้หมายถึง สัญญาระหว่างประเทศ
ใด ๆ ที่เป็นลายลักษณ์อักษร ไม่ว่าจะอยู่ในตราสารฉบับเดียวหรือหลายฉบับและไม่ว่าจะก�าหนดชื่อเฉพาะประการใด (สนธิสัญญา อนุสัญญา
พิธีสาร กติกา กฎบัตร กฎ ข้อบัญญัติ ปฏิญญา ข้อตกลง การแลกเปลี่ยนสาส์น ข้อมติการประชุม บันทึกข้อตกลง การตกลงชั่วคราว หรือ
ชื่ออื่นใด) ซึ่งตกลงระหว่างรัฐสองรัฐ หรือผู้ทรงสิทธิในกฎหมายระหว่างประเทศสองคนขึ้นไปและอยู่ภายใต้บังคับกฎหมายระหว่างประเทศ
(Brownlie’s Principles of Public International Law Edition 8 (pp 369) by James Crawford 2012, Oxford: Oxford University
th
Press.
66
ส�ำนักงำนคณะกรรมกำรสิทธิมนุษยชนแห่งชำติ