Page 65 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง พันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนของประชาคมอาเซียน
P. 65
ปฏิญญาอาเซียนที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชน (ด้านอื่นๆ) ปี
ด้านการต่อต้านการก่อการร้าย
ปฏิญญาอาเซียนด้านการด�าเนินการร่วมกันเพื่อต่อต้านการก่อการร้าย (ASEAN Declaration on ๒๕๔๔
Joint Action to Counter Terrorism)
ปฏิญญาเกี่ยวกับการก่อการร้าย (Declaration on Terrorism) ๒๕๔๕
ด้านสิทธิมนุษยชนโดยทั่วไป
ปฏิญญาร่วมในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาสหัสวรรษอาเซียน (Joint Declaration on the ๒๕๕๒
Attainment of the Millennium Development Goals in ASEAN)
ปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (ASEAN Human Rights Declaration) ๒๕๕๕
ปฏิญญาบาหลี 1, 2, 3 (Bali Concord I, II, III) ๒๕๑๙
๒๕๔๖, ๒๕๕๔
๕.๑.๒ ปฏิญญาสิทธิมนุษยชนอาเซียน (ASEAN Human Rights Declaration)
ปฏิญญานี้จัดท�าขึ้นโดยคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (ASEAN
Intergovernmental Commission on Human Rights: AICHR) เพื่อเป็นตราสารทางการเมืองที่ไม่มีข้อผูกพันตาม
กฎหมายที่แสดงเจตนารมณ์ของอาเซียนในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนอันน�าไปสู่ประโยชน์ในระยะยาวของ
ประชาชนและภูมิภาคอาเซียน AHRD เป็นตราสารทางการเมืองด้านสิทธิมนุษยชนที่ส�าคัญของประชาคมอาเซียน ซึ่งได้รับ
การรับรองเมื่อวันที่ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ ในการประชุมผู้น�าอาเซียนครั้งที่ ๒๑ ณ กรุงพนมเปญ ราชอาณาจักรกัมพูชา
ปฏิญญานี้จัดท�าโดย AICHR โดยในการจัดท�าได้มีการแต่งตั้งคณะท�างานยกร่าง (Drafting group) เพื่อจัดท�าเอกสาร
ที่ใช้ในการเจรจาของ AICHR ในช่วงระหว่างเดือนกรกฎาคม ๒๕๕๓ ถึงมกราคม ๒๕๕๕ ทั้งนี้ AHRD ประกอบไปด้วย
หมวดต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
๑) หลักการทั่วไป (General Principles) กล่าวถึงสภาพสิทธิและเสรีภาพพื้นฐานที่บุคคลแต่ละคน
พึงมีอย่างเสมอภาคและเป็นธรรม โดยปราศจากการแบ่งแยก
๒) สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (Civil and Political Rights) กล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่าง
บุคคลกับรัฐ และการคุ้มครองสิทธิพื้นฐานของบุคคลในแต่ละกรณี
๓) สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (Economic, Social and Cultural Rights) กล่าวถึง
ข้อยืนยันให้รัฐสมาชิกอาเซียนปกป้อง ส่งเสริม สนับสนุนสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม เพื่อให้เกิดสวัสดิภาพ
สูงสุดที่บุคคลพึงมี
๔) สิทธิในการพัฒนา (Right to Development) กล่าวถึงความจ�านงของรัฐสมาชิกอาเซียนใน
การแสวงหาแนวทางการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และการเมือง พร้อมสิทธิของบุคคลในการมีส่วนร่วม
เกื้อหนุน ใช้สิทธิ และได้รับประโยชน์อย่างเป็นธรรมจากการพัฒนาดังกล่าว
64
ส�ำนักงำนคณะกรรมกำรสิทธิมนุษยชนแห่งชำติ