Page 66 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง พันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนของประชาคมอาเซียน
P. 66

พันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนของประชาคมอาเซียน
                                                                          Human Rights Obligations of the ASEAN Community





                                ๕) สิทธิในสันติภาพ (Right to Peace) กล่าวถึงสิทธิของบุคคลทุกคนที่จะมีสันติภาพในการ

            ใช้ชีวิตเพื่อให้บรรลุสิทธิต่าง ๆ ข้างต้นอย่างเต็มที่ โดยรัฐสมาชิกอาเซียนต้องส่งเสริมความร่วมมือในการสร้างความมั่นคง
            และเสถียรภาพในภูมิภาค



                                ปฏิญญาสิทธิมนุษยชนอาเซียนมีสถานะเป็นเอกสารทางการเมือง  ซึ่งแสดงเจตจ�านงของรัฐสมาชิก
            อาเซียนในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน โดยได้รับรองสิทธิหลายประเภทเพิ่มเติมจากปฏิญญาสากลว่าด้วย

            สิทธิมนุษยชน (Universal Declaration of Human Rights) ซึ่งองค์การสหประชาชาติได้รับรองตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๙๑ (value
            added) เช่น สิทธิในสิ่งแวดล้อม สิทธิในข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล สิทธิในสันติภาพ และสิทธิของผู้ติดเชื้อเอดส์และเอชไอวี
            (HIV/ AIDS) ที่จะไม่ถูกเลือกปฏิบัติและสร้างตราบาป เป็นต้น อย่างไรก็ตาม มีหลายภาคส่วนมีความกังวลว่าถ้อยค�าของ

                                                                                                   46
            ปฏิญญายังคงก�าหนดให้รัฐสมาชิกสามารถจ�ากัดสิทธิบางประการได้โดยกฎหมายภายในของรัฐนั้น ๆ ซึ่งท�าให้เกิด
            ข้อห่วงใยที่ว่าสิทธิที่รัฐสมาชิกให้ความคุ้มครองจะมีมาตรฐานต�่ากว่าหลักการสิทธิมนุษยชนที่ปรากฏในปฏิญญาสากล
            ว่าด้วยสิทธิมนุษยชน และปฏิญญาเวียนนา (Vienna Declaration and Program of Action) ปี พ.ศ. ๒๕๓๖ ดังนั้น ในการ

            รับรองปฏิญญาดังกล่าว ผู้น�าของรัฐสมาชิกอาเซียนทั้งสิบประเทศจึงออกแถลงการณ์ที่เรียกว่า แถลงการณ์พนมเปญว่าด้วย
            การรับรองปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน  (Phnom  Penh  Statement  on  the  Adoption  of  the  ASEAN

            Human Rights Declaration โดยมีเนื้อหาส�าคัญในย่อหน้าที่สามที่ระบุยืนยันว่า ในการอนุวัติการหรือน�าปฏิญญามา
            ปฏิบัติและบังคับใช้ จะต้องสอดคล้องกับความรับผิดชอบที่รัฐสมาชิกมีอยู่ตามกฎบัตรสหประชาชาติ ปฏิญญาสากลว่าด้วย
            สิทธิมนุษยชน  และปฏิญญาและแผนปฏิบัติการเวียนนาและกลไกระหว่างประเทศอื่น ๆ  ว่าด้วยเรื่องสิทธิมนุษยชนที่

            รัฐสมาชิกอาเซียนเป็นภาคี และที่เกี่ยวเนื่องกับสิทธิมนุษยชน ดังนั้น ในการอ้างอิงข้อก�าหนดหรือบทบัญญัติของปฏิญญา
            สิทธิมนุษยชนอาเซียนย่อมต้องอ้างถึงแถลงการณ์พนมเปญ โดยเฉพาะค�ายืนยันของผู้น�าอาเซียนดังกล่าวข้างต้นด้วย

                                ความส�าคัญของ AHRD มาจากสถานะที่เป็นตราสารด้านสิทธิมนุษยชนระดับภูมิภาคที่ผู้น�าอาเซียน
            ได้ลงมติรับรองโดยมีเนื้อหาครอบคลุมสิทธิมนุษยชนอย่างกว้างขวาง และกลไกสิทธิมนุษยชนอาเซียนรวมตลอดถึง
            ทุกหน่วยงานของอาเซียนต่างใช้เอกสารนี้เป็นเอกสารอ้างอิงในการด�าเนินการเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน โดยนับตั้งแต่มี

            การรับรอง AHRD ในปี พ.ศ. ๒๕๕๕ ได้มีการอ้างถึงตราสารดังกล่าวในการจัดท�าตราสารสิทธิมนุษยชนทางกฎหมาย
            ฉบับแรก คือ อนุสัญญาอาเซียนว่าด้วยการต่อต้านการค้ามนุษย์โดยเฉพาะสตรีและเด็ก และจากบทวิเคราะห์ในหัวข้อที่
            ๕.๑.๑ ข้างต้น การพัฒนาตราสารที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนในช่วงเวลาก่อนที่จะมีกฎบัตรอาเซียนจะมีผลบังคับใช้

            (ปี พ.ศ. ๒๕๕๑) เป็นการด�าเนินการตามความเหมาะสมหรือจ�าเป็นในรายกรณีโดยพิจารณาจากประเด็นด้านความมั่นคง
            หรือเศรษฐกิจและสังคมเป็นหลัก โดยอาจมิได้ตั้งอยู่บนหลักการสิทธิมนุษยชน (Human Rights-Based Approach) ที่
            พิจารณาประเด็นปัญหาจากมุมมองของผู้ทรงสิทธิ (Rights Holders) และรัฐหรือผู้มีหน้าที่ (Duty Bearers) ในการคุ้มครอง

            เคารพ และด�าเนินการตามสิทธิของประชาชน การที่อาเซียนรับรองปฏิญญาสิทธิมนุษยชนท�าให้เกิดความเปลี่ยนแปลงใน
            เชิงโครงสร้างเนื่องจากจะเป็นหลักการที่ท�าให้การด�าเนินนโยบายหรือพัฒนาตราสารที่เกี่ยวข้องกับประเด็นสิทธิมนุษยชน

            ต้องพิจารณาความสอดคล้องกับหลักการสิทธิมนุษยชนข้างต้นด้วย





                    46  เช่น International Commission of Jurists, The Asean Human Rights Declaration: questions and answers.





                                                                                                              65
                                                                          ส�ำนักงำนคณะกรรมกำรสิทธิมนุษยชนแห่งชำติ
   61   62   63   64   65   66   67   68   69   70   71