Page 43 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง พันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนของประชาคมอาเซียน
P. 43

โครงสร้างของประชาคมอาเซียนที่ประกอบด้วยประชาคมย่อยจ�านวน ๓ ประชาคม คือ ASEAN Political-

          Security Community (APSC), ASEAN Economic Community (AEC) และ ASEAN Socio-Cultural Community
          (ASCC) เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกจากปฏิญญาที่เรียกชื่อกันว่า Bali Concord II ซึ่งที่ประชุมสุดยอดผู้น�าอาเซียนได้รับรองในการ

          ประชุมครั้งที่  ๙  ที่เกาะบาหลี  อินโดนีเซีย  โดยได้ตกลงให้มีการรวมตัวทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนในปี
          พ.ศ.  ๒๕๖๓  ซึ่งเป้าหมายดังกล่าวได้ถูกร่นก�าหนดการให้เร็วขึ้นเป็นปี  พ.ศ.  ๒๕๕๘  ในการประชุมสุดยอดครั้งที่  ๑๓  ที่
          ประเทศสิงคโปร์เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๐ และได้มีการรับรองโครงสร้าง ๓ ประชาคมดังกล่าวในกฎบัตรอาเซียนซึ่งมีการรับรอง

          ในการประชุมดังกล่าวด้วย ทั้งนี้ อาเซียนมักถูกน�าไปเปรียบเทียบกับสหภาพยุโรป (European Union) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
          เมื่อมีการเข้าสู่ประชาคมอย่างเป็นทางการในปลายปี  พ.ศ.  ๒๕๕๘  และอาเซียนมีสถานะเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจาก
          ประเทศสมาชิก อย่างไรก็ตาม ข้อแตกต่างที่ส�าคัญขององค์กรทั้งสอง คือ อาเซียนยังมีสถานะเป็นองค์กรระหว่างรัฐบาล

          (Intergovernmental) ที่อ�านาจการตัดสินใจยังคงอยู่กับประเทศสมาชิก โดยอาเซียนท�าหน้าที่ในการประสานงานเป็นหลัก
          ส่วนสหภาพยุโรปมีลักษณะเป็นองค์กรเหนือรัฐ (Supranational) ที่มีอ�านาจหน้าที่ตามกฎหมายในหลายประเด็น เช่น
          การบังคับใช้และก�ากับการด�าเนินการตามพันธกรณีที่ก�าหนดในสนธิสัญญาจัดตั้งสหภาพและการด�าเนินนโยบายการ

          ต่างประเทศ เป็นต้น
                       ส�านักเลขาธิการอาเซียนท�าหน้าที่เป็นศูนย์ประสานงานหลักของอาเซียน มีที่ตั้งที่กรุงจาการ์ต้า ประเทศ

          อินโดนีเซีย โดยมีผู้บริหารสูงสุด คือ เลขาธิการอาเซียน ซึ่งได้รับการแต่งตั้งโดยที่ประชุมสุดยอดผู้น�าอาเซียนจากบุคคล
          ผู้มีสัญชาติของประเทศสมาชิกอาเซียนโดยการคัดเลือกจากประเทศสมาชิกอาเซียนเรียงล�าดับตามตัวอักษร มีวาระการ
          ด�ารงต�าแหน่งห้าปี และไม่สามารถด�ารงต�าแหน่งเกินกว่าหนึ่งวาระ ในปัจจุบันเลขาธิการอาเซียนคือ นาย เลอ เลือง มินห์

          (Le Luong Minh) จากประเทศเวียดนามซึ่งด�ารงต�าแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๕๖ ถึง พ.ศ. ๒๕๖๐







       42
               ส�ำนักงำนคณะกรรมกำรสิทธิมนุษยชนแห่งชำติ
   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48