Page 95 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ประจำปี 2558
P. 95
รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ปี ๒๕๕๘
๔ การประเมินสถานการณ์
ในช่วงระหว่างปี ๒๕๔๗ - ๒๕๕๘ รัฐบาลได้ให้ความส�าคัญและพยายามแก้ไขปัญหาสถานการณ์ความรุนแรงด้วยวิธีต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการ
บังคับใช้กฎหมายพิเศษด้านความมั่นคงในพื้นที่ การใช้ก�าลังเจ้าหน้าที่ในการปราบปรามผู้ก่อความไม่สงบ การสร้างมวลชนสัมพันธ์เพื่อท�าความ
เข้าใจระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐกับประชาชน การส่งเสริมให้คนในพื้นที่และชุมชนมีความเข้มแข็ง การสร้างความร่วมมือกับภาคส่วนต่าง ๆ เพื่อหา
ทางออกในการแก้ไขปัญหา ตลอดจนกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติสุขกับกลุ่มที่มีอิทธิพลในการก่อเหตุความรุนแรง และแม้ว่าตัวเลขสถิติของ
เหตุการณ์ความไม่สงบและความสูญเสียจะมีแนวโน้มที่ลดลงตั้งแต่ปี ๒๕๕๗ เป็นต้นมา แต่ถ้าพิจารณาในมิติรากเหง้าของปัญหาความขัดแย้ง
จะพบว่ายังคงมีความขัดแย้งแสดงออกมาให้เห็นอยู่เป็นระยะ จึงมิอาจกล่าวได้ว่าจ�านวนเหตุการณ์ความไม่สงบที่ลดน้อยลงนั้น เป็นตัวแทน
ที่เพียงพอในการยืนยันว่า สถานการณ์ความขัดแย้งก�าลังจะสิ้นสุดลง ทั้งนี้ ในบางกรณียังปรากฏความรู้สึกไม่พอใจของประชาชนในพื้นที่
ต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ ความรู้สึกไม่ได้รับความเป็นธรรมจากรัฐ และความคับแค้นใจเมื่อต้องสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก ซึ่งสิ่งต่าง ๆ
เหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นประเด็นที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งในพื้นที่ เมื่อมีสิ่งยั่วยุหรือสิ่งเร้ามากระตุ้น รัฐจึงควรเร่งด�าเนินการขจัดรากเหง้า
ของความขัดแย้งนี้ ด้วยวิถีแห่งสันติและประชาชนในพื้นที่มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น โดยปราศจากการใช้ก�าลังหรืออ�านาจข่มขู่
เพราะวิธีการดังกล่าวอาจน�ามาซึ่งความขัดแย้งที่เพิ่มมากขึ้น
ในส่วนของการช่วยเหลือเยียวยา ในปี ๒๕๕๘ ยังพบว่ากระบวนการพิจารณาเยียวยาต่อผู้เสียหายมีความล่าช้า ผู้เสียหายบางรายยังไม่สามารถ
เข้าถึงการช่วยเหลือเยียวยาและบางรายยังมีความรู้สึกว่าค�าวินิจฉัยของคณะกรรมการ ๓ ฝ่าย ประกอบด้วย ทหาร ต�ารวจ และฝ่ายปกครอง
ในการพิจารณารับรองว่าผู้ขอรับการช่วยเหลือเป็นผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบหรือไม่นั้น ไม่เป็นธรรมต่อผู้เสียหาย
๙๔
ซึ่งแนวทางในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวนี้ รัฐควรจัดให้มีกระบวนการโต้แย้งหรืออุทธรณ์ค�าวินิจฉัยของคณะกรรมการ ๓ ฝ่าย เพื่ออ�านวย
ความเป็นธรรมให้กับผู้เสียหายได้อย่างเต็มที่ นอกจากนี้ รัฐควรมอบหมายให้ ศอ.บต. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาหากระบวนการ
หรือมาตรการที่เหมาะสมในการด�าเนินการให้ประชาชนเข้าถึงสิทธิในการเยียวยาในกรณีเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบทั้งที่เกิดจากการกระท�า
๙๕
ของกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ หรือจากการกระท�าของเจ้าหน้าที่รัฐอันเกี่ยวเนื่องกับความไม่สงบอย่างทันท่วงที และเป็นอัตโนมัติ โดยที่
ผู้เสียหายหรือญาติมิต้องยื่นค�าร้องขอใช้สิทธิ รวมถึงควรมีมาตรการในการติดตามดูแลด้านสภาพจิตใจของผู้ได้รับผลกระทบ นอกเหนือจาก
การช่วยเหลือเยียวยาในรูปของตัวเงินด้วย
๔.๑ สถานการณ์ด้านสิทธิในกระบวนการยุติธรรม
จากการที่ประเทศไทยได้ให้ค�ามั่นในการออกกฎหมายให้การทรมานเป็นความผิดอาญาและแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องทั้งหมดเพื่อให้
สอดคล้องกับพันธกรณีภายใต้อนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้านการทรมานฯ และอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการหาย
สาบสูญโดยถูกบังคับนั้น รัฐได้ด�าเนินการจัดท�าร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการบังคับบุคคลให้สูญหาย
พ.ศ. .... ซึ่งปัจจุบันอยู่ในระหว่างเสนอเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี ๙๖ อย่างไรก็ดี รัฐจะต้องประกันว่าร่างพระราชบัญญัติฯ
ดังกล่าวจะมีเนื้อหาสอดคล้องกับข้อบทในอนุสัญญาต่อต้านการทรมานฯ และอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการหายสาบสูญ
โดยถูกบังคับอย่างครอบคลุมและครบถ้วน และควรเร่งด�าเนินการให้กฎหมายดังกล่าวมีผลบังคับใช้โดยเร็ว เพื่อป้องกันการทรมาน การลงโทษ
และการปฏิบัติอย่างทารุณ ผิดมนุษย์หรือลดทอนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
นอกจากนี้ ในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ด้านความมั่นคงในพื้นที่ รัฐควรก�าชับให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติตามระเบียบหรือขั้นตอนที่ก�าหนดไว้
อย่างเคร่งครัด รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรร่วมกันพัฒนาระบบการเข้าเยี่ยมสถานที่เสี่ยงต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชน เพื่อป้องกันมิให้
เกิดการกระท�าอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน ทั้งนี้ ในกรณีของการเสียชีวิตในสถานที่คุมขังหรือลักษณะอื่นใด รัฐควรเร่งรัดให้หน่วยงาน
ที่มีหน้าที่ในการควบคุมตัวผู้ต้องสงสัยหรือกักตัวไว้เพื่อซักถามด�าเนินการติดตั้งกล้องวงจรปิด ณ บริเวณสถานที่ควบคุมผู้ต้องสงสัยทุกแห่ง
เพื่อประโยชน์ในการป้องกันปัญหาข้อร้องเรียนที่อาจเกิดขึ้นอีกในอนาคต รวมถึงสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ที่ถูกควบคุมตัวและครอบครัว
ในระหว่างการควบคุมตัวเพื่อซักถามตามกฎหมายความมั่นคงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และหากมีข้อร้องเรียนหรือข้อสงสัยว่าอาจจะมี
๙๔ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ, “รายงานผลการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่ ๑๙๔-๒๐๕/๒๕๕๘”, ลงวันที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๕๘
๙๕ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ, “รายงานผลการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่ ๔๓๔-๔๗๙/๒๕๕๘” ลงวันที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๕๘
๙๖ กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม, “หนังสือ ด่วนที่สุด ที่ ยธ ๐๔๐๔/๒๙๑๙ ลงวันที่ ๔ เมษายน ๒๕๕๙ เรื่อง ข้อมูลความคืบหน้าร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบ
ปรามการทรมานและการบังคับบุคคลให้สูญหาย พ.ศ. ....”
65