Page 93 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ประจำปี 2558
P. 93

รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ปี ๒๕๕๘




        นอกจากสถานการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้นในพื้นที่ อันส่งผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกายของประชาชนแล้ว ในปี ๒๕๕๘
        ยังปรากฏสถานการณ์ที่กระทบต่อสิทธิเสรีภาพในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ในกรณีต่าง ๆ ดังนี้


































        ๓.๑ สถานการณ์ด้านสิทธิในกระบวนการยุติธรรม

        ภายใต้การบังคับใช้กฎหมายพิเศษด้านความมั่นคงจ�านวน ๓ ฉบับ ในพื้นที่ ส่งผลให้มีการควบคุมตัวประชาชนที่ถูกสงสัยว่ามีส่วนเกี่ยวข้อง
                                                       ๘๘
        กับกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบไปซักถาม โดยไม่ต้องมีหมายค้นและหมายจับ และจะน�าตัวผู้ต้องสงสัยไปควบคุมตัวไว้ที่ค่ายทหาร หรือสถานที่
        เฉพาะต่าง ๆ ในพื้นที่ ซึ่งสุ่มเสี่ยงต่อการถูกกล่าวหาและร้องเรียนว่ามีการละเมิดสิทธิมนุษยชน โดยในปี ๒๕๕๘ มีรายงานข่าวกรณีผู้ต้องสงสัย
        คดีความมั่นคงรายหนึ่งเสียชีวิตในขณะที่ถูกควบคุมตัวในค่ายอิงคยุทธบริหาร ต�าบลบ่อทอง อ�าเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี ซึ่งแม้ว่า
        เจ้าหน้าที่และแพทย์ได้ชี้แจงผลการชันสูตรเบื้องต้น โดยมีหลายฝ่ายเข้าร่วมว่าไม่พบร่องรอยการต่อสู้ หรือร่องรอยการถูกท�าร้าย รวมถึงได้ตรวจ
        สารคัดหลั่งเพื่อหาสาเหตุการเสียชีวิต และคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงกรณีการเสียชีวิตของผู้ต้องสงสัยรายดังกล่าว ได้มีมติเอกฉันท์น่าเชื่อว่า
        บุคคลดังกล่าวถึงแก่ความตายโดยไม่มีผู้ใดกระท�าให้ตาย อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์ดังกล่าวได้สร้างข้อกังขาต่อญาติของผู้เสียชีวิต เนื่องจากญาติ
        ยังคงปักใจเชื่อว่ากรณีดังกล่าวไม่ใช่การเสียชีวิตโดยปกติ นอกจากนี้ ในปี ๒๕๕๘ ยังปรากฏเรื่องร้องเรียนต่อ กสม. จ�านวน ๑๒ ค�าร้อง โดยที่
        ผู้ร้องกล่าวอ้างว่าเจ้าหน้าที่มีการท�าร้ายร่างกายผู้ต้องสงสัยในคดีความมั่นคงในระหว่างการซักถามและควบคุมตัวเพื่อให้ยอมรับสารภาพ


        ๓.๒  สถานการณ์ด้านสิทธิเด็ก

                                                                                                ๘๙
        ในปี ๒๕๕๘ มีรายงานจ�านวนเด็กที่เสียชีวิตจากสถานการณ์ความไม่สงบจ�านวน ๕ ราย และได้รับบาดเจ็บจ�านวน ๒๐ ราย  โดยมีจ�านวน
        ลดลงเมื่อเทียบกับหลายปีที่ผ่านมา นอกจากมิติในด้านผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบที่ส่งผลต่อเด็กในพื้นที่แล้ว ในปี ๒๕๕๘ ยังได้
        ปรากฏสถานการณ์ที่น่าห่วงกังวลว่าอาจจะส่งผลกระทบต่อสิทธิของเด็ก ได้แก่ เรื่องร้องเรียนต่อ กสม. ในกรณีการกล่าวอ้างว่าเด็กชายอายุ
        ๑๑ ปี และเด็กหญิงอายุ ๗ ปี ถูกเจ้าหน้าที่ของรัฐไม่ทราบสังกัดตรวจเก็บตัวอย่างสารทางพันธุกรรม (DNA) ซึ่งเจ้าหน้าที่ได้ให้มารดาของเด็ก
                                                                                       ๙๐
        ทั้ง ๒ ลงลายมือชื่อในหนังสือให้ความยินยอม โดยไม่มีการแจ้งวัตถุประสงค์ในการตรวจเก็บ DNA แต่อย่างใด  ประกอบกับมีรายงานข่าว



         ๘๘   ประกอบด้วย พระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พระพุทธศักราช ๒๔๕๗ พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๕๕๑ และพระราชก�าหนดการบริหารราชการใน
         สถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘
         ๘๙  มูลนิธิผสานวัฒนาธรรมและกลุ่มด้วยใจ, “รายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ประจ�าปี ๒๕๕๘”, หน้าที่ ๖
         ๙๐   คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ, “เรื่องร้องเรียนต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ค�าร้องที่ ๕๖๔/๒๕๕๘”, ลงวันที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๕๘




         63
   88   89   90   91   92   93   94   95   96   97   98