Page 21 - รวมพระราชบัญญัติ ระเบียบ และแนวปฏิบัติ ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (ฉบับพกพา)
P. 21
๑๕
ระเบียบคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการในการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน
พ.ศ. ๒๕๕๘
และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงระเบียบคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติว่าด้วยหลักเกณฑ์
และวิธีการในการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน พ.ศ. ๒๕๔๕ ให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น
อาศัยอ านาจตามความในมาตรา ๔ มาตรา ๒๓ วรรคสองและวรรคสาม มาตรา ๒๔ วรรคสอง
มาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๒๖ วรรคสองและวรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติคณะกรรมการ
สิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติโดยความเห็นชอบของ
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ จึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติว่าด้วยหลักเกณฑ์
และวิธีการในการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน พ.ศ. ๒๕๕๘”
๑
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นก าหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
เป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกระเบียบคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการ
ในการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน พ.ศ. ๒๕๔๕
ข้อ ๔ ในระเบียบนี้
“คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
“ประธานกรรมการ” หมายความว่า ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
“กรรมการ” หมายความว่า กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
“คณะอนุกรรมการ” หมายความว่า คณะอนุกรรมการที่คณะกรรมการแต่งตั้งขึ้นเพื่อท าหน้าที่
สืบสวนและสอบสวนข้อเท็จจริง รับฟังค าชี้แจงและพยานหลักฐาน และจัดท ารายงานผลการตรวจสอบ
การละเมิดสิทธิมนุษยชน หรือท าหน้าที่อื่นตามที่ก าหนดไว้ในระเบียบนี้หรือที่คณะกรรมการมอบหมาย
“ส านักงาน” หมายความว่า ส านักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
“เลขาธิการ” หมายความว่า เลขาธิการคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
“ค าร้อง” หมายความว่า เรื่องที่คณะกรรมการเห็นสมควรให้มีการตรวจสอบหรือเรื่องที่มีการ
เสนอต่อคณะกรรมการเพื่อขอให้ตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน
๑ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒ /ตอนพิเศษ ๕๙ ง /หน้า ๑ / ๑๗ มีนาคม ๒๕๕๘