Page 83 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของประเทศไทย และความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน
P. 83
ให้ผู้ที่ประสงค์ข้ามแดน สามารถเดินทางไป ยังประเทศปลายทางสมตามความต้องการ อย่างไรก็ดี ใน
ประเด็นนี้ ศาสตราจารย์วิทิต มันตราภรณ์ ได้ให้ความเห็นในการเสวนาในหัวข้อ “ประเทศไทยกับป๎ญหา
ข้ามชาติ : ป๎ญหาสิทธิมนุษยชน” ใน หลักสูตรนักบริหารการทูต กระทรวงการต่างประเทศ เมื่อวันที่ ๒๔
มิถุนายน ๒๕๕๗ ว่าไม่ควรนําประเด็นของความยินยอมเข้ามาอยู่ในองค์ประกอบทั้งในกรณีของการค้า
มนุษย์และการลักลอบขนผู้โยกย้ายถิ่นฐาน เพราะเป็นเรื่องของ absolute protection แต่ต้องพิจารณา
เกี่ยวกับวัตถุประสงค์ เป็นสําคัญว่ามีการขูดรีด( exploit) ในเชิงค้ามนุษย์หรือไม่ ดังนั้น แม้ชาวโรฮิงญา
จะสมัครใจในการย้ายถิ่น แต่ตกเป็นผู้เสียหายจากการถูกแสวงประโยชน์จากขบวนการค้ามนุษย์ ย่อมถือ
เป็นความผิดฐานค้ามนุษย์ทั้งสิ้น
(๓) วิธีการเดินทางเข้าสู่ประเทศไทย การเดินทางของชาวโรฮิงญาเข้าสู่ประเทศไทยค่อนข้าง
ยากลําบากและยาวไกล บางรายใช้วิธีการเดินเท้าข้ามพรมแดนสหภาพเมียนมาเข้าสู่บังกลาเทศที่เมือง
ค๊อกซ์บาซาร์ หรือเมืองจิตตะกอง โดยจะมีนายหน้าไปรอรับที่นั่น จากนั้นนายหน้าจะพาลงเรือมุ่งหน้าสู่
ประเทศไทย เพื่อขึ้นฝ๎่งที่ จังหวัดระนอง หรือพังงา และจะมีนายหน้ารอรับขึ้นฝ๎่งที่ประเทศไทยอีกที โดยมี
จุดมุ่งหมายปลายทางหลักคือมาเลเซีย ทั้งนี้เส้นทางการเดินทาง เข้าสู่ประเทศไทยมีอยู่ ๒ เส้นทาง คือ
๑. จากชายแดนเมืองค๊อกซ์บาซาร์ บังกลาเทศ อ้อมหมู่เกาะ อันดามันของอินเดีย มุ่งหน้าไปเกาะ
นิโคบา โดยใช้เรือขนาดใหญ่บรรจุคนได้ ๓๐๐ คน หรือมากกว่านั้น ใช้เวลาในการเดินทาง ๑๐ – ๑๕ วัน
ไปทางทิศตะวันออก เข้าสู่น่านน้ําไทยที่จังหวัดระนองและพังงา
๒. จากชายแดนอําเภอมองดอ จังหวัดซิดต่วย รัฐอาระกัน ของสหภาพเมียนมา ผ่านเมืองอิรวดี
เกาะโกโก้ เข้าเขตน่านน้ําไทยด้านจังหวัดระนอง แต่หากโชคร้ายกองเรือพม่าตรวจพบถ้าเป็นผู้หญิงจะถูก
จับไปกระทําชําเราทางเพศ ไปเป็นทาส ส่วนผู้ชายส่วนใหญ่จะถูกฆ่าทิ้งกลางทะเลโดยทหารพม่าจะทําลาย
เรือที่ชาวโรฮิงญาใช้เป็นพาหนะหลบหนีมาทําเป็นเสมือนว่าเรือประสบอุบัติเหตุทางทะเลจนมีผู้เสียชีวิต
ซึ่งชาวโรงฮิงญาส่วนใหญ่จะพูดเหมือนกันว่าหากเข้าสู่ประเทศไทยได้พวกตนรอดแต่หากพบทหารพม่าคือ
“ตายสถานเดียว”
สําหรับเส้นทางอพยพเข้าสู่ประเทศไทยในช่วงแรกๆนั้น เหยื่อการค้ามนุษย์ชาวโรฮิงญา ให้ข้อมูล
ว่า พวกเขาจะรวมตัวกันจัดหาเรือประมงขนาดเล็กที่อยู่ในสภาพเก่า เป็นพาหนะในการเดินทาง โดยอาศัย
แผนที่และเข็มทิศมุ่งหน้ามายังเกาะนิโคบา และเข้าน่านน้ําไทยด้านจังหวัดระนอง ซึ่งจะใช้เวลาเดินทางใน
ทะเล ประมาณ ๑๕ วัน (ระยะทางประมาณ ๗๘๐ ไมล์ทะเล หรือ ๑,๔๐๐ กิโลเมตร.) หากเป็นเรือลําเล็ก
จะสามารถบรรทุกได้ประมาณ ๖๐ – ๗๐ คนต่อลํา โดยอาหารที่ใช้ในการยังชีพมีเพียงข้าวเม่าผสมกับน้ํา
ทะเลพอประทังชีวิต แต่ในภายหลัง มีชาวโรฮิงญาต้องการอพยพและย้ายถิ่นเพื่อมาหางานทําในประเทศที่
๓ และเดินทางไปหาสามีที่ทํางานอยู่ที่มาเลเซียจํานวนมาก จึงทําให้เกิดขบวนการลักลอบนําพากลุ่มคน
เหล่านี้เข้าไทยและมาเลเซีย(Human Smuggling) โดยจะมีการเรียกเก็บเงิน คนละ ๒๐,๐๐๐ – ๕๐,๐๐๐
จั๊ต (หรือประมาณ ๑,๐๐๐ บาท) รายที่มาทั้งครอบครัวเพื่อเดินทางไปอยู่กับสามีถูกหลอกให้จ่ายเงินสูงถึง
๓๐,๐๐๐ บาท นายหน้าจะนําเงินไปเช่าเรือ ซื้อเสบียงอาหาร และน้ําดื่มเพื่อให้เหยื่อบริโภคในระหว่างการ
เดินทาง
เมื่อถึงน่านน้ําไทยจะมีนายหน้ารออยู่ในฝ๎่งไทยพาชาวโรฮิงญาไปส่งตามจุดต่างๆ ส่วนใหญ่เป็น
เกาะแก่งในทะเลอันดามัน เพื่อหลบหนีเจ้าหน้าที่ หลังจากนั้นจะมีนายหน้าในจังหวัดระนองและคนใน
พื้นที่คอยให้ความช่วยเหลือ ก่อนที่จะพากันเดินเท้าต่อเพื่อที่จะไปขึ้นรถที่มีนายหน้ามารอรับ สําหรับ
ยานพาหนะที่ใช้ในการขนชาวโรฮิงญาจะใช้รถอีซูซุมิวเซเว่น ดัดแปลงถอดเบาะด้านหลังออก สามารถ
๖๓