Page 12 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของประเทศไทย และความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน
P. 12
เพื่อให้เจ้าหน้าที่ของรัฐได้เรียนรู้ภาษาของแรงงานที่สามารถสื่อสารกับแรงงานได้ โดยตรง การมีศูนย์
เตรียมความพร้อมของแรงงานที่จะเข้ามาท างานใหม่ และมีการให้ความรู้เบื้องต้นส าหรับการท างาน
ในประเทศไทย และในช่วงการจดทะเบียนควรมีการประชาสัมพันธ์เป็นภาษาของแรงงาน การ
เสริมสร้างองค์ความรู้แก่กลุ่มเสี่ยงที่จะตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์ หรือกลุ่มเหยื่อค้ามนุษย์ เช่น การจัด
โครงการอบรมให้ความรู้แก่แรงงานเกี่ยวกับสิทธิของแรงงาน โดยต้องให้ความส าคัญกับทั้งแรงงาน
ไทยและแรงงานข้ามชาติ
(๗) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงมหาดไทย และ
ส านักงานต ารวจแห่งชาติ ควรให้ความส าคัญกับการสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการท างานกับ
องค์กรภาคประชาสังคม ในพื้นที่ เนื่องจากกลุ่มองค์กรเหล่านี้มีศักยภาพในการท างานเชิงรุกได้
ค่อนข้างดี เนื่องจากมีเป้าหมายในการท างานที่ชัดเจน เฉพาะเรื่อง ไม่ต้องแบกรับภาระหน้าที่
หลากหลายเช่นหน่วยงานราชการ ฉะนั้นการสร้างภาคีความร่วมมือในการท างานร่วมกับองค์กรภาค
ประชาสังคม จึงสามารถเติมเต็มกระบวนการท างานของหน่วยงานภาครัฐได้เป็นอย่างดี
(๘) ส านักงานต ารวจแห่งชาติต้องเข้มงวดในการบังคับใช้กฎหมายทุกฉบับที่
เกี่ยวข้องกับการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ได้แก่ การเอาผิดนายหน้าและนายจ้างที่ละเลย
การจดทะเบียนแรงงานที่ถูกต้อง หรือที่กระท าการละเมิดสิทธิแรงงาน การจับกุมผู้ตั้งตนเป็น
นายหน้าจัดหางานผิดกฎหมาย การท าเอกสารปลอมให้กับแรงงาน ทั้งคนไทยและคนต่างชาติ การยึด
ใบอนุญาตโรงงานที่ผิดกฎหมาย
(๙) คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติควรก าหนดเรื่องการค้ามนุษย์ให้เป็น
ประเด็นเชิงยุทธศาสตร์ที่มีความส าคัญในระดับต้นๆ โดยควรด าเนินการตรวจสอบเจ้าหน้าที่รัฐอย่าง
ต่อเนื่อง เพราะการค้ามนุษย์ถือเป็นประเด็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างรุนแรง การตรวจสอบไม่
จ าเป็นต้องรอให้มีหน่วยงานหรือบุคคลมาร้องเรียน คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติสามารถ
หยิบยกกรณีที่เห็นว่ามีการค้ามนุษย์หรือการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง มาท าการตรวจสอบ
อย่างเป็นอิสระโดยใช้ทั้งอนุสัญญาระหว่างประเทศขององค์การสหประชาชาติ และกฎหมาย
ภายในประเทศที่เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์เป็นกรอบในการตรวจสอบ ควรเสริมสร้างองค์ความรู้แก่
บุคลากร/ทีมงานให้มีความรู้ ความเข้าใจอนุสัญญา กติการะหว่างประเทศ รวมทั้งกฎหมาย
ภายในประเทศทุกฉบับที่เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ให้กับเจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรง
รวมทั้งการให้ความรู้เกี่ยวกับนิยามความหมายของการค้ามนุษย์ กระบวนการท างานเพื่อการป้องกัน
แก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ และการช่วยเหลือ เยียวยาเหยื่อการค้ามนุษย์ที่เป็นระบบ เพื่อให้เกิดความ
แม่นย าในการใช้กรอบทางกฎหมายมาท าการตรวจสอบทั้งเรื่องที่มีการร้องเรียน และเรื่องที่
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติหยิบยกขึ้นมาเองอย่างแม่นย า ควรสร้างและพัฒนากลไกการ
ร้องเรียนเรื่องการค้ามนุษย์ในระดับพื้นที่กับภาคประชาสังคม หรือองค์กรพัฒนาเอกชน เพื่อให้ผู้ถูก
ละเมิดจากนายหน้าหรือขบวนการค้ามนุษย์ได้เข้าถึงสิทธิในการร้องเรียนได้มากขึ้น ควรจัดท า
ฐานข้อมูลเรื่องการค้ามนุษย์อย่างเป็นระบบ สามารถน ามาใช้ประกอบการตรวจสอบการค้ามนุษย์
อย่าง มีประสิทธิภาพและทันสมัย และไม่ควรเข้าไปเป็นคณะกรรมการหรือคณะท างานใดๆ ของ
ภาครัฐในการด าเนินงานใดๆก็ตามที่เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ เพราะจะท าให้เสียจุดยืนในการ
ตรวจสอบกลไกของรัฐที่มีอ านาจในการปกป้องและคุ้มครองเหยื่อของการค้ามนุษย์
ช