Page 8 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของประเทศไทย และความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน
P. 8
ค้าประเวณีในสภาพที่เลวร้าย โดยแต่ละรายจะต้องชดใช้หนี้แก่นายหน้า ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเข้าใจได้ใน
ภายหลังว่าตนเองไม่มีโอกาสจะใช้หนี้ได้หมด และตัดสินใจหลบหนี
๒. ปัญหา อุปสรรค ในการบังคับใช้กฎหมาย
ผลการศึกษาพบว่า ประเทศไทยได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการใช้กฎหมายระหว่างประเทศแก้ไข
ปัญหาการค้ามนุษย์รวมแล้วไม่ต่ ากว่า ๑๐ ฉบับ ส าหรับกฎหมายภายในประเทศ มีกฎหมาย ๘ ฉบับ
ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ (๑) พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒ (๒) พระราชบัญญัติป้องกันและ
ปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ. ๒๕๓๙ (๓) พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้าหญิงและ
เด็ก พ.ศ. ๒๕๔๐ (๔) พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ๑๔) พ.ศ.
๒๕๔๐ (๕) พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ ๒๐) พ.ศ.
๒๕๔๒ (๖) พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. ๒๕๔๒ (๗) บันทึกข้อตกลงเรื่อง
แนวทางปฏิบัติร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการด าเนินการกรณีหญิงและเด็กที่ตกเป็นเหยื่อ
ของการค้ามนุษย์ พ.ศ. ๒๕๔๒ และ (๘) พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.
๒๕๕๑
ปัญหาอุปสรรคในการบังคับใช้กฎหมายเกิดจากการตีความข้อกฎหมายที่ไม่ตรงกันใน
กระบวนการคัดแยกเหยื่อที่มีการยึดติดกับค าว่าสมัครใจหรือถูกบังคับมากเกินไปโดยไม่ดูปัจจัย
แวดล้อมหรือการกระท าของขบวนการค้ามนุษย์ที่อยู่เบื้องหลัง รวมทั้งการใช้พระราชบัญญัติคนเข้า
เมือง พ.ศ. ๒๕๒๒ ในการจัดการกับผู้เข้าเมืองผิดกฎหมายท าให้เหยื่อบางรายต้องรับโทษ และไม่
สามารถสาวไปถึงขบวนการค้ามนุษย์ได้
นอกจากนี้กระบวนการในการด าเนินคดีฟ้องร้องทางแพ่งและเจรจาเรียกร้องค่าเสียหาย
ชดเชยให้กับเหยื่อการค้ามนุษย์มีค่าใช้จ่ายที่สูงและใช้เวลานาน รวมถึงความกลัวที่จะถูกนักค้ามนุษย์
แก้แค้น ความไม่ไว้ใจเจ้าหน้าที่ เป็นอุปสรรคต่อเหยื่อการค้ามนุษย์ในการเข้าถึงกระบวนการทาง
กฎหมายเป็นอย่างมาก
๓. ปัญหาอุปสรรคความร่วมมือในการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ระหว่างประเทศไทย
กับประเทศเพื่อนบ้าน
ประเทศไทยได้มีความร่วมมือในการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์กับประเทศ
สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ราชอาณาจักรกัมพูชา สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียตนาม
สหภาพเมียนมา และสหพันธรัฐมาเลเซียมาเป็นเวลานานทั้งในรูปแบบของทวิภาคีและพหุภาคี
หลังจากประเทศไทยมีพระราชบัญญัติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. ๒๕๕๑ มี
การใช้ค าว่า“ข้อตกลง” แทน “บันทึกความเข้าใจ” และใช้ค าว่า “การค้ามนุษย์” แทน “การค้าหญิง
และเด็ก” เพื่อครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้ชายด้วย
อย่างไรก็ตาม ความร่วมมือในช่วงที่ผ่านมายังมีปัญหาอุปสรรค ที่ส าคัญ ๕ ประการ คือ
(๑) ความไม่มีประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมายปราบปรามการค้ามนุษย์ของแต่ละประเทศ (๒)
บันทึกข้อตกลงแบบทวิภาคีระหว่างประเทศยังมีลักษณะเชิงรับมากกว่าเชิงรุก (๓) ขาดกฎหมาย
กลางในระดับภูมิภาคที่เปรียบเสมือนธรรมนูญของชาวอาเซียน และการออกกฎหมายระดับรองเพื่อ
ค