Page 10 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของประเทศไทย และความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน
P. 10

(๓) รัฐบาลควรเร่งรัดการออกพระราชบัญญัติควบคุมการขอทาน พ.ศ. .... ให้เข้าสู่
                   วาระการประชุมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติโดยเร็ว เนื่องจากพระราชบัญญัติควบคุมการขอทาน

                   พุทธศักราช ๒๔๘๔ ได้ใช้บังคับมานานแล้ว บทบัญญัติต่างๆ ไม่เหมาะสมกับสภาวการณ์ปัจจุบัน โดย
                   ควรให้พระราชบัญญัติควบคุมการขอทาน พ.ศ. .... ให้มีความเชื่อมโยงกับพระราชบัญญัติป้องกันและ
                   ปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. ๒๕๕๑ ในประเด็นการลงโทษผู้กระท าความผิดตามพระราชบัญญัติ
                   ฉบับนี้

                                 (๔)  รัฐบาลควรมีนโยบายในการปรับปรุงข้อตกลงในลักษณะทวิภาคีกับสาธารณรัฐ
                   ประชาธิปไตยประชาชนลาว ราชอาณาจักรกัมพูชา สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียตนาม สาธารณรัฐแห่ง
                   สหภาพเมียนมา และสหพันธรัฐมาเลเซีย ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปเมื่อเข้าสู่ประชาคม
                   อาเซียน โดยให้ครอบคลุมความร่วมมือในด้านการป้องกัน การคุ้มครองช่วยเหลือ การปราบปราม

                   การส่งกลับและคืนสู่สังคมโดยควรเพิ่มความร่วมมือกับองค์กรภาคประชาสังคมของแต่ละประเทศด้วย
                                 (๕)  รัฐบาลควรแสดงจุดยืนทางการเมือง(political  view) ในระดับภูมิภาคอย่าง
                   ชัดเจนที่จะแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์อย่างจริงจัง ขับเคลื่อนให้ประเทศในภูมิภาคอาเซียนมีกฎหมาย
                   กลางที่เปรียบเสมือนธรรมนูญของชาวอาเซียน ๑๐ ประเทศ  โดยในกฎหมายกลางควรมีบทนิยาม

                   ของการค้ามนุษย์ ที่ใช้ยึดเป็นกรอบการตีความการค้ามนุษย์และเหยื่อค้ามนุษย์ร่วมกัน  มีการก าหนด
                   มาตรการต่างๆ ที่ส าคัญ ได้แก่ มาตรการในการส่งผู้ค้ามนุษย์ข้ามแดน  มาตรการในการคุ้มครองเหยื่อ
                   ค้ามนุษย์ มาตรการทางกฎหมายในการช่วยเหลือเหยื่อการค้ามนุษย์ในระหว่างด าเนินคดีตาม

                   กระบวนการยุติธรรมทางอาญา  มาตรการในการดูแลเหยื่อโดยค านึงถึงสิทธิมนุษยชนระหว่าง
                   ประเทศ  ในหลักการห้ามเลือกปฏิบัติด้วยเหตุต่างๆ ทั้งทางเชื้อชาติ และสัญชาติ มาตรการเยียวยา
                   เหยื่อการค้ามนุษย์ รวมถึงมาตรการหลังจากเหยื่อการค้ามนุษย์กลับไปด าเนินชีวิตในสังคม  มาตรการ
                   จัดตั้งกองทุนและองค์กรกลางในการประสานงานในเรื่องการค้ามนุษย์เป็นการเฉพาะในภูมิภาค
                   อาเซียน


                          ๕.๒ ข้อเสนอแนะระดับปฏิบัติการ
                                 (๑) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงมหาดไทย และ

                   ส านักงานต ารวจแห่งชาติ ควรจัดท าฐานข้อมูลเกี่ยวกับการค้ามนุษย์ ซึ่งครอบคลุมฐานข้อมูลในเรื่อง
                   ของสถานการณ์ปัญหาการค้ามนุษย์ในพื้นที่ อาทิ การส ารวจจ านวนสถานบันเทิง อาบอบนวด สปา
                   ร้านคาราโอเกะ  โรงงานต่างๆในจังหวัดฯลฯ ซึ่งเป็นสถานที่ที่อาจน าไปสู่การค้ามนุษย์ เพื่อเป็นการ
                   เฝ้าระวังปัญหาในพื้นที่  ตลอดจนการเก็บรวบรวมสถิติคดีความต่างๆที่เกี่ยวข้อง มีการขึ้นทะเบียน

                   กลุ่มที่เกี่ยวข้องกับปัญหาการค้ามนุษย์ในพื้นที่ เช่น กลุ่มผู้ที่เคยถูกจับกุมในข้อหาน าพา หรือกลุ่มที่มี
                   พฤติกรรมเสี่ยงจะเป็นนักค้ามนุษย์ หรือนายหน้ารูปแบบต่างๆ รวมไปถึงข้อมูลเกี่ยวกับจ านวนกลุ่มคน
                   ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะเข้าสู่กระบวนการค้ามนุษย์  อาทิ กลุ่มเด็กสาวที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม กลุ่ม
                   แรงงานที่ลักลอบเมืองอย่างผิดกฎหมาย ทั้งนี้การจัดท าฐานข้อมูลดังกล่าวจะต้องเป็นความรับผิดชอบ

                   ร่วมกันของหน่วยงาน องค์กรภาคีในระดับจังหวัด และระดับประเทศ
                                 (๒)  กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และกระทรวงมหาดไทย
                   ควรร่วมมือกันสร้างเครือข่ายในการท างานระดับพื้นที่ ทั้งในระดับต าบล ระดับชุมชนหรือหมู่บ้าน โดย
                   เปิดโอกาสให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม และให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการ

                   ป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์แต่ละพื้นที่ สร้างและพัฒนาศักยภาพของอาสาสมัครจากชุมชน


                                                            จ
   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15