Page 9 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของประเทศไทย และความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน
P. 9
ประสานการด าเนินงานให้ไปในแนวทางเดียวกัน (๔) ขาดการจัดตั้งองค์กรกลางในการประสานงาน
ในเรื่องการค้ามนุษย์ ท าให้การต่อต้านการค้ามนุษย์มีลักษณะต่างคนต่างท า แม้จะมีความร่วมมือใน
ลักษณะทวิภาคีก็ตาม และ๕) ขาดการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาคประชาสังคมระหว่างประเทศ
๔. ปัญหาอุปสรรคในการสร้างและพัฒนากลไกในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์
ผลการศึกษา พบว่า ที่ผ่านมาการสร้างและการพัฒนากลไกมุ่งเน้นในระดับชาติ และกลไก
ระดับภูมิภาคมากจนละเลยการพัฒนากลไกในระดับพื้นที่ซึ่งมีความส าคัญในการป้องกันและแก้ไข
ปัญหาการค้ามนุษย์ที่มีประสิทธิภาพและเป็นรูปธรรมมากกว่า ในระยะต่อไปควรมุ่งเน้นการสร้างและ
พัฒนากลไกในระดับพื้นที่ให้มากขึ้น โดยควรมีการด าเนินการ (๑) การเสริมสร้างองค์ความรู้และ
ศักยภาพของผู้ที่เกี่ยวข้องกับการท างานเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ เช่น การ
เสริมสร้างองค์ความรู้แก่ชุมชน/สังคม การเสริมสร้างองค์ความรู้แก่กลุ่มเสี่ยงที่จะตกเป็นเหยื่อการค้า
มนุษย์ การเสริมสร้างองค์ความรู้แก่ทีมงาน/เจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรง (๒) การสร้าง
เครือข่ายการเฝ้าระวังปัญหาปัญหาการค้ามนุษย์ โดยการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมการ
ขับเคลื่อนกระบวนการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ภายในชุมชนของตนเอง (๓) การสร้าง
เครือข่ายขององค์กรภาคี โดยเน้นให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันในประเด็นของประสบการณ์การ
ท างาน เพื่อให้สามารถสร้างเวทีการเรียนรู้ร่วมกัน (๕) การจัดท าระบบฐานข้อมูลที่ทันสมัย และมี
รายละเอียดเกี่ยวกับกระบวนการท างานอย่างเพียงพอ
๕. ข้อเสนอแนะ
๕.๑ ข้อเสนอแนะระดับนโยบาย
(๑) รัฐบาลควรมีนโยบายอย่างชัดเจนในการมุ่งเน้นให้กระทรวงการพัฒนาสังคม
และความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงยุติธรรม กระทรวงแรงงาน ส านักงาน
ต ารวจแห่งชาติ กรมสอบสวนคดีพิเศษ และส านักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ท างาน
ร่วมกันอย่างบูรณาการ ที่ผ่านมาหน่วยงานดังกล่าวยังยึดกฎหมายและระเบียบของตนเองเป็นหลักใน
การด าเนินงาน ท าให้เกิดปัญหาต่างคนต่างท า ยังขาดการบูรณาการกันอย่างแท้จริง
(๒) รัฐบาลควรมีนโยบายในการปรับปรุงบทบาทของคณะกรรมการป้องกันและ
ปราบปรามการค้ามนุษย์ หรือ ปคม. ซึ่งเป็นกลไกที่มีอยู่ภายใต้พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปราม
การค้ามนุษย์ พ.ศ.๒๕๕๑ มาตรา ๑๕ และให้มีอ านาจตามมาตรา ๑๖ ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นใน ๓
ประเด็นหลัก คือ การเสนอความเห็นต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อให้มีการปรับปรุงกฎหมาย กฎ ระเบียบ
หรือ โครงสร้างของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ การก าหนด
ยุทธศาสตร์และมาตรการในการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ และการก าหนดแนวทางก ากับ
ดูแลการด าเนินงานตามพันธกรณีระหว่างประเทศ ตลอดจนการให้ความร่วมมือและประสานงานกับ
ต่างประเทศเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ที่ผ่านมา การด าเนินการตามอ านาจ
ใน ๓ ประเด็นดังกล่าวยังขาดประสิทธิภาพ
ง