Page 6 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของประเทศไทย และความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน
P. 6
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง “การป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของประเทศไทยกับความร่วมมือกับ
ประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน” มีวัตถุประสงค์ ๔ ประการ คือ (๑) เพื่อศึกษารูปแบบของการค้า
มนุษย์ในยุคปัจจุบันที่แฝงอยู่ในการน าเข้าและการส่งออกแรงงานไปต่างประเทศ (๒) เพื่อศึกษา
ปัญหา อุปสรรค ในการบังคับใช้กฎหมายต่างๆที่เกี่ยวข้อง และพระราชบัญญัติป้องกันและ
ปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. ๒๕๕๑ (๓) เพื่อหาแนวทางความร่วมมือในการป้องกันและ
ปราบปรามการค้ามนุษย์ระหว่างประเทศไทยกับประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
ราชอาณาจักรกัมพูชา สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียตนาม สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา และ
สหพันธรัฐมาเลเซีย และ (๔) เพื่อจัดท าข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย และการก าหนดมาตรการในการ
ตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านการค้ามนุษย์
การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วยการวิจัยเอกสาร อนุสัญญา พิธีสาร
เกี่ยวกับการป้องกัน ปราบปราม และลงโทษการค้ามนุษย์ของสหประชาชาติ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
กับการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ของประเทศไทย การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้แทนของ
หน่วยงานภาครัฐและภาคประชาสังคมในประเทศไทยและในประเทศเพื่อนบ้าน ๕ ประเทศใน
อาเซียน เกี่ยวกับบทบาท ในการช่วยเหลือเหยื่อการค้ามนุษย์ ปัญหาอุปสรรค ข้อจ ากัดของหน่วยงาน
กฎหมายการป้องกันและและปราบปรามการค้ามนุษย์ของแต่ละประเทศ การศึกษากรณีศึกษาเหยื่อ
การค้ามนุษย์จ านวน ๓๑ ราย เพื่อศึกษารูปแบบการจัดการของเครือข่ายการค้ามนุษย์ และการศึกษา
ความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในการป้องกัน ปราบปรามการค้ามนุษย์ ผลการศึกษามีดังต่อไปนี้
๑. รูปแบบของการค้ามนุษย์
ผลการศึกษาพบว่า ส านักงานตรวจคนเข้าเมืองที่ประจ าอยู่ที่ด่านชายแดนมีมาตรการตรวจ
คนเข้าออกชายแดนค่อนข้างเข้มข้น มีเครื่องมือที่ทันสมัย แต่ก็ยังมีปัญหาคนจ านวนหนึ่งเข้ามาใน
ประเทศไทยแล้วไม่กลับไปประเทศต้นทางตามเวลาที่ก าหนด ซึ่งอาจถูกกระบวนการค้ามนุษย์
หลอกลวงไปท างานในรูปแบบต่างๆ อีกทั้งยังมีการลักลอบเข้าเมืองแบบผิดกฎหมายโดยเข้ามาทาง
ช่องทางธรรมชาติอีกเป็นจ านวนมาก
รูปแบบของการค้ามนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นการค้าประเวณี การค้าแรงงาน การเป็นลูกเรือประมง
และการบังคับขอทาน เกิดจากปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจของประเทศต้นทาง คือความยากจน การ
ว่างงาน และปัจจัยทางสังคมวัฒนธรรม คือการมีค่านิยมแบบการได้ท างานแบบไม่ใช้แรงงาน แต่
มีรายได้สูง เป็นปัจจัยที่เสริมให้ขบวนการค้ามนุษย์สามารถหลอกลวงเหยื่อได้โดยง่าย
ขบวนการค้ามนุษย์ใช้วิธีการหลอกลวงโดยให้คนรู้จักที่อยู่หมู่บ้านเดียวกัน หรือเครือญาติ
เป็นนายหน้า และร่วมมือกับนายหน้าคนไทยที่ท าหน้าที่หาลูกค้าที่ต้องการใช้บริการเด็กผู้หญิง ใช้
เอเย่นต์หรือนายหน้าทั้งในพื้นที่และนอกพื้นที่ น าผู้หญิงประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาขายบริการทางเพศ
ในร้านอาหาร ร้านคาราโอเกะ หรือในบ้านที่ให้บริการทางเพศโดยเฉพาะ
วิธีการเดินทางเข้าสู่ประเทศไทยของการค้ามนุษย์ในรูปแบบของการค้าประเวณี คือ (๑) ผ่าน
นายหน้าที่ท าในลักษณะกลุ่มเครือญาติ (๒) มีทั้งการใช้หนังสือเดินถูกต้อง และลักลอบน าพาเหยื่อ
ก