Page 71 - รายงานการศึกษาวิจัย บทบาทของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติในการคุ้มครองการละเมิดสิทธิมนุษยชนของภาคเอกชน
P. 71
รายงานการศึกษาวิจัย บทบาทของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ 71
ในการคุ้มครองการละเมิดสิทธิมนุษยชนของภาคเอกชน
จากการทบทวนบทบาทหน้าที่ของ กสม. และบทบาทหน้าที่ของสถาบันสิทธิมนุษยชน
ในประเทศต่างๆ ในประเด็นธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน คณะวิจัยมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ดังต่อไปนี้
1. การส่งเสริมและประยุกต์ใช้องค์ความรู้เกี่ยวกับธุรกิจและสิทธิมนุษยชน
ควรส่งเสริมองค์ความรู้เกี่ยวกับชุดหลักการและมาตรฐานต่างๆ ที่เกี่ยวกับการแสดงความ
รับผิดชอบของธุรกิจต่อสังคม (CSR) ที่ล้วนมีสาระสำาคัญในการเคารพสิทธิมนุษยชน หรือ
มาตรฐานที่เกี่ยวกับความยั่งยืนของธุรกิจแก่เจ้าหน้าที่สำาหรับใช้ในการปฏิบัติงาน
2. การจัดทำาฐานข้อมูลการละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยภาคเอกชน
เพื่อเป็นเครื่องมือของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติและสำานักงาน กสม.
ในกระบวนการเจรจาไกล่เกลี่ย เยียวยา และเสนอแนะต่อภาคเอกชน ตามระดับความ
เหมาะสมของสถานการณ์แต่ละกรณี รวบรวมและบันทึกข้อมูลข้อเท็จจริงกรณีที่มี
่
การละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยภาคเอกชน โดยครอบคลุมข้อมูลขั้นตำา ดังต่อไปนี้
1) ประเภทธุรกิจ
2) ชื่อ ที่อยู่ และประเภทธุรกิจของบริษัทแม่ (ถ้ามี)
3) มาตรฐานต่างๆ เกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคม ทั้งมาตรฐานสากลและ
มาตรฐานในประเทศ ที่บริษัทนั้นๆ และบริษัทแม่ (ถ้ามี) ประกาศว่า
รับหลักการหรือเป็นภาคีสมาชิก
4) เนื้อหาในมาตรฐานแต่ละมาตรฐานซึ่งข้อเท็จจริงจากกรณีที่บริษัทถูกร้องชี้ชัดว่า
เป็นการละเมิด
3. การเผยแพร่บทสรุปผลการตรวจสอบ และจัดทำาข้อเสนอแนะต่อบริษัท
กสม. ควรเผยแพร่บทสรุปผลการตรวจสอบกรณีที่ชัดเจนว่า บริษัทมีส่วนในการละเมิด
สิทธิมนุษยชน เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้าถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการละเมิด