Page 72 - รายงานการศึกษาวิจัย บทบาทของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติในการคุ้มครองการละเมิดสิทธิมนุษยชนของภาคเอกชน
P. 72

72          รายงานการศึกษาวิจัย บทบาทของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
                   ในการคุ้มครองการละเมิดสิทธิมนุษยชนของภาคเอกชน





                         สิทธิมนุษยชน อีกทั้งยังเป็นการสร้างแรงจูงใจให้ภาคเอกชนโดยรวม เห็นความสำาคัญ

                         กับประเด็นสิทธิมนุษยชนมากขึ้น ทั้งนี้ เพื่อลดความเสี่ยงด้านชื่อเสียง (reputation
                         risk) ตลอดจนเพิ่มแรงกดดันจากคู่แข่งในธุรกิจเดียวกัน (peer pressure) ทางอ้อม

                         ให้แข่งกันหันมาให้ความสำาคัญกับการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนอย่างจริงจัง เพื่อหลีกเลี่ยง
                         การถูกเปิดเผยเมื่อมีการตรวจสอบจาก กสม.



                  4.  สร้างกลไกความร่วมมือกับหน่วยงานกำากับดูแลเอกชนในไทย


                         กสม. ควรหารือกับหน่วยงานที่มีบทบาทกำากับดูแลภาคเอกชน เช่น สำานักงาน

                         คณะกรรมการกำากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)  ตลาดหลักทรัพย์แห่ง
                         ประเทศไทย  สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD)  สมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย
                         สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย  สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย  และสมาคม

                         ธนาคารไทย เป็นต้น  เพื่อขับเน้นประเด็นธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนให้เป็นที่ตระหนัก

                         ในวงกว้างมากขึ้น อาทิ การส่งเสริมการจัดการด้านสิทธิมนุษยชนในภาคเอกชน
                         โดยอาจใช้แนวปฏิบัติสำาหรับการจัดการด้านสิทธิมนุษยชนและรายการตรวจสอบ
                         (Human Rights Management and Check List) ของ กสม. เกาหลีใต้ เป็นแม่แบบ

                         ในการประยุกต์ใช้สำาหรับบริษัทไทย (อ่านรายละเอียดแนวปฏิบัติดังกล่าว ฉบับปรับปรุง

                         ล่าสุดปี 2558 ได้ในภาคผนวกของรายงานฉบับนี้)


                  5.  ความร่วมมือกับองค์กรภาคเอกชนระหว่างประเทศ


                         กสม. ควรพิจารณาหารือกับองค์กรภาคเอกชนระหว่างประเทศที่มีบทบาทในการ
                         สร้างความตื่นตัวและตระหนักในประเด็นสิทธิมนุษยชนของภาคธุรกิจ และร่วมมือกัน

                         ยกระดับการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในไทย



                  6.  การจัดทำาแผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจ
                         และสิทธิมนุษยชน (NAP)


                         กสม. ควรพิจารณาริเริ่มให้เกิดกระบวนการจัดทำาแผนปฏิบัติการแห่งชาติว่าด้วย
                         ธุรกิจและสิทธิมนุษยชน (National Action Plan on Business and Human Rights

                         - NAP)  เพื่อใช้เป็น “เครื่องมือ” ในการเริ่มสร้างความตระหนัก และการมีส่วนร่วม

                         จากภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาคธุรกิจ รัฐ และประชาสังคม  ทั้งนี้ ปัจจุบันมี
                                    ่
                         ประเทศไม่ตำากว่า 35 ประเทศทั่วโลกที่จัดทำาและเผยแพร่ NAP แล้ว หรืออยู่ระหว่าง
                         กระบวนการจัดทำา ดังแผนภาพต่อไปนี้
   67   68   69   70   71   72   73   74   75   76   77