Page 51 - รายงานการศึกษาวิจัย บทบาทของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติในการคุ้มครองการละเมิดสิทธิมนุษยชนของภาคเอกชน
P. 51
รายงานการศึกษาวิจัย บทบาทของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ 51
ในการคุ้มครองการละเมิดสิทธิมนุษยชนของภาคเอกชน
4.2.3 สาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้)
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งสาธารณรัฐเกาหลีจัดตั้งขึ้น ในปี พ.ศ. 2544 ในฐานะ
สถาบันระดับชาติที่ให้การสนับสนุนด้านการปกป้องสิทธิมนุษยชน เพื่อให้เป็นไปตามพันธกรณี
ระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนที่รัฐบาลเกาหลีสมัครใจเข้าผูกพันตนเป็นรัฐภาคีสมาชิก
พันธกิจขององค์กร คือ การเฝ้าระวังการละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อพลเมืองที่เกิดขึ้นจาก
เจ้าหน้าที่รัฐ เฝ้าระวังเจ้าหน้าที่รัฐและภาคเอกชนไม่ให้มีการละเมิดสิทธิมนุษยชน ตรวจสอบ
การละเมิดสิทธิมนุษยชน และจัดทำาข้อเสนอเชิงนโยบายต่อรัฐบาลเพื่อให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ
กฎหมายระหว่างประเทศ สร้างความเข้าใจด้านสิทธิมนุษยชนต่อสาธารณะ
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งสาธารณรัฐเกาหลีดำาเนินการด้วยระบบคณะกรรมการ
(Human Rights Commission) โดยมีเลขาธิการบริหารสำานักงานเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงาน
ของคณะกรรมการ โครงสร้างของคณะกรรมการจะแบ่งพื้นที่ความรับผิดชอบทั้งในเชิงนโยบาย
และการปฏิบัติการในเชิงรุก เพื่อแก้ไขเยียวยาแก่บุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ได้รับผลกระทบจาก
การละเมิดสิทธิมนุษยชน หรือการเลือกปฏิบัติที่ก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรม และมีอำานาจในการ
เข้าไปตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือการเลือกปฏิบัติดังกล่าวที่กระทบต่อสิทธิเสรีภาพ
ด้วยการแสวงหาข้อเท็จจริงหรือการสอบสวนกรณีร้องเรียน
คณะกรรมการประกอบด้วยกรรมการทั้งสิ้น 11 คน เป็นประธานกรรมการ 1 คน กรรมการ
สามัญ 3 คน และกรรมการวิสามัญ 7 คน โดยมีที่มาจากการเลือกผ่านที่ประชุมแห่งชาติ 4 คน
เสนอชื่อโดยประธานาธิบดี 4 คน และอีก 3 คนมาจากเสนอชื่อของประธานศาลสูงแห่งเกาหลี
ที่ได้รับการรับรองจากประธานาธิบดี ซึ่งต้องมีกรรมการเป็นสตรีอย่างน้อย 4 คน โดยสำานักงาน
จะเป็นผู้ดำาเนินการตามนโยบายและมติที่ประชุมกรรมการ ซึ่งมีทั้งสำานักงานกลางและสำานักงาน
ในภูมิภาคอีก 3 แห่ง (National Human Rights Commission of Korea, n.d.)
กระบวนการรับเรื่องร้องเรียน นอกจากการร้องเรียนการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกิด
จากรัฐแล้ว คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งสาธารณรัฐเกาหลียังรับเรื่องร้องเรียนเมื่อบุคคล
ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนจากองค์กร หรือบุคคลทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นการเลือกปฏิบัติจากเพศ
ศาสนา ความพิการ อายุ สถานภาพทางสังคม ชาติพันธุ์ ความคิดทางการเมือง และดำาเนินการ
เมื่อมีการละเมิดกฎหมายที่ห้ามมิให้มีการเลือกปฏิบัติ โดยบุคคลต้องไม่ถูกให้ออกจากงาน
เปลี่ยนตำาแหน่งงาน เลือกปฏิบัติ หรือปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรมภายใต้กฎหมายนี้
กระบวนการตรวจสอบเมื่อมีการร้องเรียน คณะกรรมการจะสืบสวนหาข้อเท็จจริงโดย
การรับฟังความคิดเห็น หรือเรียกเอกสารหากจำาเป็น ทั้งนี้ ในการสอบสวนอาจจะมีการเข้าไปในพื้นที่
เมื่อปรากฏว่าสามารถดำาเนินคดีได้ จะมีการจัดตั้งคณะอนุกรรมการและรวบรวม
หลักฐานเพื่อดำาเนินคดีตามกฎหมาย หากเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือการทำาผิดกฎหมาย
การไม่เลือกปฏิบัติ (National Human Rights Commission of Korea, n.d.)