Page 93 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง ปัญหาเยาวชนหญิงที่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรกับมิติสิทธิมนุษยชน
P. 93
• ผู้ให้บริก�รมีคว�มเป็นมิตร
มีผู้ให้บริการหลักผ่านการอบรมเรื่อง การพัฒนา Self - Esteem ในวัยรุ่น ทักษะชีวิต ทั้งทักษะ
ชีวิตพื้นฐานและทักษะเฉพาะ ปัญหาสุขภาพและพัฒนาการวัยรุ่น และอนามัยการเจริญพันธุ์
(กองอนามัยการเจริญพันธุ์, ๒๕๔๙)
อย่างไรก็ตามมาตรการและยุทธศาสตร์ไม่ได้ครอบคลุมอย่างชัดเจนถึงสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์
ที่ผู้หญิงไม่ตกอยู่ในอันตรายเพราะการท�าแท้งที่ไม่ปลอดภัย สิทธิในการตัดสินใจอย่างอิสระและ
รับผิดชอบในเรื่องจ�านวนบุตร เวลาที่จะมีบุตร และระยะห่างของการมีบุตรแต่ละคน ด้วยการยุติการ
ตั้งครรภ์หรือท�าแท้ง การพัฒนาบริการสุขภาพและอนามัยการเจริญพันธุ์ส�าหรับวัยรุ่นตามโครงการ
ส�าหรับเยาวชนหญิงตั้งครรภ์ จึงเป็นการให้ความรู้ บริการข้อมูล พัฒนาทักษะความรู้ ป้องกัน รักษา
และฟื้นฟูสุขภาพ อ�านวยความสะดวกที่เหมาะสมกับบริบทและปัญหาของเยาวชน และเก็บรักษา
ความลับ สิทธิความเป็นส่วนตัว
มากไปกว่านั้น ในทางปฏิบัติยังพบว่ามาตรการที่จะคุ้มครองสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์เยาวชน
หญิงของกระทรวงสาธารณสุขยังคงมีอุปสรรคอย่างมาก โรงพยาบาลส่วนใหญ่ยังมีข้อจ�ากัดที่จะ
ให้บริการการวางแผนครอบครัวกับเยาวชน เพราะเจ้าหน้าที่พยาบาล ผู้ให้บริการยังมีทัศนคติ
เชิงลบเกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์ของเยาวชน แม้ว่าจะร่วมมือกับกระทรวงการพัฒนาสังคมและ
ความมั่นคงของมนุษย์ ที่ได้สนับสนุนให้ทุกจังหวัดจัดตั้งสภาเยาวชนโดยมีแผนที่จะขยายเครือข่าย
ไปสู่ระดับต�าบล ให้สภาเยาวชนมีส่วนร่วมพัฒนาอนามัยการเจริญพันธุ์ของวัยรุ่นและเยาวชน
แต่ในทางปฏิบัติ เยาวชนเหล่านี้มักพบว่าไม่สามารถมีส่วนร่วมได้เต็มที่ (รักแรกคลิก, ๒๕๕๔)
อย่างไรก็ตาม การให้การศึกษาความรู้ในระดับสาธารณสุข และวาทกรรมทางการแพทย์ต่อ
การตั้งครรภ์ เพศสัมพันธ์ อนามัยเจริญพันธุ์ของเยาวชนไม่ได้สร้างความตระหนักถึงเรื่องสิทธิและ
อ�านาจการตัดสินใจของผู้หญิง แต่เป็นเรื่องของการป้องกันการตั้งครรภ์และการมีเพศสัมพันธ์ของ
เยาวชน การให้ความรู้แก่เยาวชนหญิงยังคงเป็นประเด็นเกี่ยวกับผลที่ตามมาของการมีเพศสัมพันธ์
“ก่อนวัยอันควร” เช่น โรคติดต่อและการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์อยู่ (บุญยิ่ง มานะบริบูรณ์
และคณะ, ๒๕๔๙, น. ๖๕๔ - ๖๕๗)
92 // ปัญหำเยำวชนหญิงที่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรกับมิติสิทธิมนุษยชน