Page 90 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง ปัญหาเยาวชนหญิงที่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรกับมิติสิทธิมนุษยชน
P. 90
วิบูลย์วัฒนกิจ และคณะ, ๒๕๕๐) รวมทั้งแรงกดดันที่สังคมมีต่อครอบครัว ซึ่งเน้นบทบาทความรับผิดชอบ
ในการเลี้ยงดูบุตรของผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ท�าให้เยาวชนหญิงเกิดภาวะความวิตกกังวลและเครียด
ส่งผลต่อเจตคติต่อการตั้งครรภ์ และแบบแผนการด�าเนินชีวิตในระยะตั้งครรภ์ได้ อีกทั้งเยาวชน
หญิงตั้งครรภ์ ส่วนใหญ่ต้องหยุดการศึกษา ออกจากโรงเรียน หรือออกจากงาน ไม่มีอาชีพ ขาดรายได้
หรือต้องประกอบอาชีพที่มีรายได้ต�่า เศรษฐกิจของครอบครัวไม่ดี และชีวิตครอบครัวไม่ราบรื่น
ยิ่งถ้าเป็นการตั้งครรภ์แรก เยาวชนหญิงจะขาดความรู้และประสบการณ์ ประกอบกับวุฒิภาวะที่ยัง
ไม่พร้อมจะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย จิตใจ และอารมณ์อย่างมาก เชื่อว่าหญิง
ตั้งครรภ์วัยรุ่นอาจจะไม่สนใจดูแลสุขภาพของตนเองและทารกในครรภ์ มีการปฏิบัติที่ไม่ถูกต้อง
เกี่ยวกับโภชนาการ การพักผ่อน การออกก�าลังกาย การท�างาน การใช้ยาสิ่งเสพติด และสารอื่นๆ
ในขณะตั้งครรภ์ น�าไปสู่การเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายต่อหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นและทารกในครรภ์
จึงเพิ่มมากขึ้น (รพีพรรณ วิบูลย์วัฒนกิจ และคณะ, ๒๕๕๐; สุวชัย อินทรประเสริฐ และสุรศักดิ์
ฐานีพานิชสกุล, ๒๕๓๙, น. ๑๗๑ - ๑๘๓)
ทั้งสองงานวิจัยพบว่าเป็นการศึกษาเฉพาะกลุ่มเยาวชนหญิงตั้งครรภ์ในครอบครัวชนชั้น
แรงงาน รายได้ต�่า ฐานะทางเศรษฐกิจไม่ดี ขาดการศึกษาและเข้าถึงบริการด้านสาธารณสุขของรัฐ
ที่ดี ซึ่งบริบทสังคมของกลุ่มเป้าหมายในงานวิจัยเป็นปัจจัยส�าคัญที่น�าไปสู่ปัญหาสุขภาพทั้งเยาวชน
หญิงตั้งครรภ์และเด็กทารกแรกเกิดมากกว่าการตั้งครรภ์ในวัยเยาว์ เพราะอันที่จริงแล้ว เยาวชนเป็น
กลุ่มที่อยู่ในภาวะเจริญพันธุ์แล้ว พร้อมจะมีเพศสัมพันธ์และสืบพันธุ์ตามชีวภาพ ธรรมชาติ การที่
งานวิจัยพยายามอธิบายถึงปัญหาสุขภาพร่างกายของเยาวชนหญิงที่ตั้งครรภ์และเด็กทารกที่เกิดมาจาก
การตั้งครรภ์ตั้งแต่อายุน้อย จึงเป็นการละเมิดสิทธิรับข้อมูลความรู้ที่ถูกต้อง ทันสมัย และครบถ้วน
รอบด้าน เพื่อประโยชน์สูงสุดในการตัดสินใจในทุกเรื่องเกี่ยวกับเรื่องสุขภาพทางเพศและอนามัย
เจริญพันธุ์ของตนเอง และสิทธิเสรีภาพแห่งความคิดที่ชี้น�าให้เยาวชนหญิงไม่มีเสรีภาพในการ
ตัดสินใจมีบุตร หรือไม่และจะมีเมื่อใดตามความต้องการ แม้ว่างานวิจัยของรพีพรรณ วิบูลย์วัฒนกิจ
และคณะเป็นการพยายามกระตุ้นในหน่วยงานของรัฐด้านสาธารณสุข ให้ความส�าคัญกับการฝากครรภ์
ของเยาวชน และการวางแผนกับการดูแลสุขภาพของเยาวชนหญิงตั้งครรภ์และทารกในครรภ์เพื่อ
ให้หญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นและทารกในครรภ์ มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง รวมทั้งช่วยเหลือสนับสนุนให้
หญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นเกิดเจตคติที่ดีต่อการตั้งครรภ์และช่วยส่งเสริมให้เกิดแบบแผนการด�าเนินชีวิต
ที่เหมาะสมก็ตาม (รพีพรรณ วิบูลย์วัฒนกิจ และคณะ, ๒๕๕๐)
ส�ำนักงำนคณะกรรมกำรสิทธิมนุษยชนแห่งชำติ // 89